วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Imperial Palace


พระราชวังอิมพีเรียล ( Imperial Palace )

        พระราชวังอิมพีเรียล (โคเคียว ) เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมจิ แห่งประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโตเกียวท่ามกลางคูน้ำล้อมรอบมาตั้งแต่สมัยเอโดะ บนพื้นที่มากกว่า 270 เอเคอร์ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นสวนป่าไม้ธรรมชาติ และเนื่องจากพระราชวังแห่งนี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ จึงไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม แต่จะมีเพียงกรณีพิเศษ 2 ปีที่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าได้คือ วันที่ 23 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และวันที่ 2 มกราคม ของทุกปี ที่สมเด็จพระจักรพรรดิจะออกสมาคม เพื่ออวยพรให้ประชาชนเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ แต่จะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าได้เพียงแค่บริเวณพระราชฐานชั้นนอกเท่านั้น

  ภายในอุทยานชั้นในอันเป็นเขตพระราชฐาน เป็นอาคารคอนกรีตทรงเตี้ย หลังคาสีเขียว ซึ่งสร้างขึ้นแทนของเดิมที่ถูกทิ้งระเบิดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณที่นักท่องเที่ยวทั่วไปนิยมถ่ายรูปกันคือ สะพานนิจูบาชิ เป็นสะพานที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างมากแล้ว ยังเป็นสะพานที่สามารถข้ามผ่านไปยังเขตพระราชฐานชั้นในได้อีกด้วย
  ตัวปราสาทสร้างตามรูปแบบในสมัยเอโดะ ล้อมรอบด้วยคูน้ำและกำแพงหิน ทางเข้าหลักจะเป็นสะพานคู่หรือเรียกว่า นิจูบาชิ (Nijubashi) ที่สร้างได้อย่างสวยสง่างาม แต่ไม่เปิดให้ บุคคลทั่วไปผ่าน ยกเว้นในช่วงปีใหม่และวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระจักรพรรดิที่จะเปิดให้พสกนิกร(บางคน)ข้ามมารับพระราชทานพรใกล้ๆที่ประทับ ทางด้านตะวันออกจะมีสวนดอกไม้ (Higashi Gyoen) ซึ่งจัดไว้อย่างสวยงามเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามาพักผ่อนหย่อนใจได้ตลอดเวลา และเข้าไปยังเขตพระราชฐานได้ 3 ประตู จากทั้งหมด 8 ประตู คือ โอเตมง(Ote-mon), ฮิรากาวะมง(Hirakawa-mon) และคิตะฮาเนบาชิมง(Kitahanebashi-mon) ตัวพระตำหนักเป็นอาคารคอนกรีตทรงเตี้ยกว้างสร้างด้วยหินแกรนิตและบะซอลต์จากภูเขาไฟ คลุมด้วยหลังคาสีเขียว สร้างเสร็จในปี 1970 แทนพระตำหนักไม้หลังเดิมที่ถูกระเบิดในช่วงสงครามโลกในปี 1945

ชาโต เดอ แวร์ซายส์ (Chateau de Versailles)


พระราชวังแวร์ซาย (ฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่แวร์ซาย ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงปารีส พระราชวังแวร์ซายเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วย
ประวัติ
เดิมนั้น เมืองแวร์ซายเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายน่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง
การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายแห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส กับพระนางมารี อองตัวเนต ประหารด้วยกิโยติน ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2332 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้

โบสถ์นอทเทอร์ดัม (Notre Dame Cathedral)


อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส (ฝรั่งเศส: Cathédrale Notre-Dame de Paris กาเตดราลน็อทร์-ดามเดอปารี) หรือ มหาวิหารน็อทร์-ดาม เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า Notre Dame แปลว่า พระแม่เจ้า (Our Lady) ซึ่งเป็นคำที่ชาวคาทอลิกใช้เรียกพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารก็ยังใช้เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งคาเทดราของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส มหาวิหารน็อทร์-ดามถือกันว่าเป็นโบสถ์ที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอทิกแบบฝรั่งเศส โบสถ์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส
การก่อสร้างเป็นแบบกอทิก นับเป็นมหาวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างก็ทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอทิก ประติมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ ทำให้แตกต่างจากศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น
น็อทร์-ดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "ครีบยันลอย" ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบมหาวิหาร "บริเวณร้องเพลงสวด" หรือ รอบบริเวณกลางโบสถ์ เมื่อเริ่มสร้างกำแพงโบสถ์สูงขึ้นกำแพงก็เริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอทิกจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงก็ไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัวโบสถ์เอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉะนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของโบสถ์ที่สร้างแบบกอทิกไปในตัว
ราวปี ค.ศ. 1790 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส โบสถ์ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประติมากรรมและศิลปะทางศาสนาถูกทำลายไปมาก มหาวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมีสภาพเหมือนก่อนหน้าที่ถูกทำลาย
การก่อสร้าง
เมื่อปี ค.ศ. 1160 บิชอปมอริส เดอ ซูว์ยี (Maurice de Sully) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งปารีส ท่านเห็นว่าโบสถ์ที่ตั้งอยู่เดิมไม่สมฐานะ จึงสั่งให้รื้อทิ้งไม่นานหลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งใหม่ ตามตำนานว่ากันว่าบิชอปเห็นภาพลักษณ์ของมหาวิหารแห่งปารีสอันสวยงาม ท่านจึงรีบร่างแบบที่เห็นไว้บนทรายนอกโบสถ์เดิม ก่อนจะสร้างวิหารใหม่ก็ต้องรื้อบ้านเรือนบริเวณนั้นออกไปหลายหลัง และต้องสร้างถนนใหม่เพื่อจะได้สะดวกต่อการขนวัสดุก่อสร้างได้สะดวก
มหาวิหารเริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1163 ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ส่วนที่จะว่าใครเป็นผู้วางศิลาฤกษ์นั้นไม่แน่ บางหลักฐานก็ว่าบิชอปซุลยีเอง บางหลักฐานก็ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 เป็นผู้วาง แต่ที่แน่คือทั้งคนเข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ ตั้งแต่นั้นมาบิชอปซุลยีก็อุทิศชีวิตให้กับการสร้างมหาวิหารนี้
เริ่มการก่อสร้างทางด้านหน้าหรือด้านตะวันตก (west front) ซึ่งมีหอคอยสองหอ เมื่อราวปี ค.ศ. 1200 ก่อนที่จะสร้างโถงกลางของตัวโบสถ์เสร็จ ซึ่งไม่ตรงกับหลักการสร้างสิ่งก่อสร้างตามแบบฉบับ โบสถ์นี้มีสถาปนิกหลายคนที่มีส่วนในการก่อสร้าง จะเห็นได้จากความเปลี่ยนแปลงของรูปทรงไปตามสมัยนิยมของสถาปนิก เป็นต้นว่าหอสองหอทางด้านตะวันตกจะไม่เท่ากัน
ระหว่างปี ค.ศ. 1210 ค.ศ. 1220 สถาปนิกคนที่สี่เป็นผู้ดุแลการสร้างระดับหน้าต่างกลมและโถงภายใต้หอ หอสร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1245 และมหาวิหารเมื่อปี ค.ศ. 1345

Torre pendente di Pisa


หอเอนเมืองปิซา (อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa, อังกฤษ: Leaning Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตร
การสร้าง
เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1173 สร้างเสร็จเมื่อปี 1350 ใช้เวลาสร้างประมาณ 175 ปี แต่การก่อสร้างหยุดชะงักเมื่อสร้างไปได้ถึงชั้น 3 เนื่องจากพื้นใต้ดินเป็นพื้นดินที่นิ่ม ทำให้ยุบตัว ต่อมาในปี ค.ศ.1272 โดย Giovanni di Simone สร้างให้เอนกลับไปอีกด้านหนึ่งเพื่อให้สมดุล แต่การก่อสร้างในครั้งนี้ ก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเนื่องจากเกิดสงคราม ต่อมาก็มีการสร้างหอต่อขึ้นอีกและสร้างเสร็จ 7 ชั้น ในปี ค.ศ.1319 แต่หอระฆังถูกสร้างเสร็จในปี ค.ศ.1372 โดยใช้เวลาสร้างทั้งหมด 177 ปี
หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1990-2001 หอเอนปีซาได้รับการปรับปรุงฐานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หอล้มลงมา
ประวัติ
กาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้หอนี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง ในตอนที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา โดยใช้ลูกบอล 2 ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา เพื่อพิสูจน์ว่า ลูกบอล 2 ลูกจะตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่กาลิเลโอคาดไว้
ในปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี พยายามจะทำให้หอกลับมาตั้งฉากดังเดิม โดยเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีก กองทัพสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่ยิงปืนใหญ่ใส่หอเอนเมืองปิซา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1964 รัฐบาลอิตาลี พยายามหยุดการเอียงของหอเอนเมืองปิซา โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น วิศวกร นักคณิตศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ โดยใช้เหล็กรวมกว่า 800 ตัน ค้ำไว้ไม่ให้หอล้มลงมา
ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1990 หอเอนเมืองปิซาถูกปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังขุดดินของอีกด้านหนึ่งออก เพื่อให้สมดุลยิ่งขึ้น และในวันที่ 15 ธันวาคม 2001 หอเอนเมืองปิซาถูกเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้ง และถูกประกาศว่าสมดุลแล้วใน 300 ปีต่อมาหลังจากเริ่มทำการปรับปรุง
ค.ศ.1987 หอเอนเมืองปิซาถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Piazza Dei Miracoli หอเอนเมืองปิซายังเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางอีกด้วย
  • นอกจากนี้หอเอนเมืองปิซานี้ช่วยให้กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีชื่อเสียงของโลก ได้ทดลองความจริง เรื่องน้ำหนักของของที่ตกเป็นผลสำเร็จอีกด้วย

10 อันดับ สัตว์ประหลาดในตำนาน



อันดับ 10 ปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง ( คีวบิโนะโยโกะ )

อันดับ 9 พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช)

อันดับ 8 เท็งงุ หรือ นกสามขา

อันดับ 7 ทิคบาลัง

อันดับ 6 แวมไพร์

อันดับ 3 นางแมงมุม (จูโรคุโมะ)

อันดับ 4 Ala

อันดับ 3 เสือสมิง

อันดับ 2  มานานังเกล
 


อันดับ 1 ไลแคนท์ หรือ Lycantrope คือ มนุษย์ที่ถูกสาบด้วยเวทมนต์

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Macaron


 Macaron (มาการง) มีประวัติศาสตรยาวนานหลายร้อยปี และช่วง 5-6 ปีมานี้ ชาวปารีสและเหล่าฟู๊ดดี้ในประเทศโลกเจริญแล้ว ต่างคลั่งไคล้หลงใหลคุกกี้ชิ้นเล็กๆ กลมๆ 2ชิ้นประกบกัน ตรงกลางมีไส้ หน้าตาเหมือนแฮมเบอร์เกอร์ รสหวาน สีสันสดใส และราคาสูงจนน่าตกใจ และวันนี้ร้านขนมในเมืองไทยหลายร้าน เริ่มผลิตมาการงออกวางขายกันไม่น้อย แม้ผู้บริโภคจะยังไม่ต่อคิวรอซื้อมากินกันเป็นล่ำเป็นสันก็ตาม
โดยตัวขนมมาการง มีความงาม”ภายนอก”และ”ภายใน”เริ่มจากภายนอก ผิวเนียนและเงางามเหมือนเปลือกไข่ ไม่มีรอบแตกหรือร้าว ถ้าเจอแบบผิวตะปุ่มตะป่ำเหมือนหนังคางคกนี้ไม่ได้เลยน่ะ เพราะแสดงถึงถึงความไม่เอาใจใส่ในการบดและร่อนแป้งแอลมอนด์ หรือร้านไหนที่ขายมาการงที่มียอดแหลมเป็นจุก จากการบีบที่ชี้ให้เห็นว่าผสมแป้งแบบใจเสาะ ไม่ได้ที่ มองจากด้านข้างเข้าไปแล้ว ยอดค่อนข้างแบนไม่โค้งเป็นโดม มาถึงส่วนที่ติดกับครีม (ส่วนล่างสุดของคุ้กกี้ทั้ง 2 ชิ้นที่มาประกบกัน) เรียกว่า “เท้า” ของมาการง ต้องเป็นเนื้อฟู ระบาย มีความสูงพอๆกัน แต่ไม่มากกว่าส่วนเนียน และไม่ควรจะแผ่ส่วนที่เนียนออกมามาก (อบไม่ได้อุณหภูมิที่พอเหมาะ) สุดท้ายคือ คุ้กกี้ต้องเป็นสีเดียวกันทั้งชิ้น ไม่มีลักษณะที่โดนความร้อนเลียจนซีด หรือไหม้
มากางรงส่วนใหญ่สอดไส้ช็อกโกแลต เพราะฉะนั้นเวลากิน ควรกินที่อุณหภูมิห้อง(ฝรั่ง)ประมาณ 20-25 องศา คือนำออกมาจากตู็เย็นมาตั้งไว้ประมาณ 30นาที ถึง 1 ชม. เมื่อกัดเข้าไปแล้ว สัมผัสได้ คือ ความกรุบเฉพาะผิวแต่เมื่อถึงเนื้อข้างในต้องให้ความรู้สึกที่นุ่มลักษณะละลายปาก ไม่ให้ความรู้สึกเหนียวหรือขัดขืนต่อต้านการเคี้ยว เนื้อจะต้องเต็ม ไม่มีโพรงอากาศอยู่ระหว่างเปลือกกับฐาน ถ้าร้านไหนขายมาการงที่แข็ง หรือเคี้ยวแล้วดังกร้วมๆ ให้หยุดกิน ส่วนรสชาติของไส้นั้นแล้วแต่คนชอบ เมื่อรับทราบถึงจุดนี้แล้ว ก็เข้าใจเลยว่าทำไม ราคาขายของมาการงถึงแพง เพราะความใส่ใจในทุกขั้นตอนจริงๆ

TOUR EIIFEL




หอไอเฟล หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย

หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) หรือสูงเท่ากับตึก 81 ชั้น

เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ หอไอเฟลเป็นสิ่งปลูกสร้างสูงที่สุดในกรุงปารีส และหากไม่นับรวมเสากระจายคลื่น หอไอเฟลเป็นสิ่งปลูกสร้างสูงที่สุดอันดับสองในฝรั่งเศส รองจากสะพานมีโย

หอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร (986 ฟุต) ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร (72 ฟุต) ด้านบนนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น ในขณะที่ก่อสร้างปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดบนโลก โดยถูกล้มตำแหน่งเมื่อเมืองนิวยอร์กได้สร้าง ตึกไครส์เลอร์ สูง 319 เมตร (1047 ฟุต)
น้ำหนักเหล็กที่ใช้ก่อสร้างนั้นทั้งหมด 7,300 ตัน และถ้ารวมทั้งหมดก็เป็น 10,000 ตัน ส่วนจำนวนบันไดนั้นเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อแรกเริ่มนั้นมี 1710 ขั้น ในทศวรรษที่ 1980 มี 1920 ขั้น และในปัจจุบัน มี 1665 ขั้น
ท้องฟ้าสีกุหลาบยามเย็น กัดสีผนังลายหินอ่อนของสถาปัตยกรรมในปารีส หอไอเฟลก็ยังคงตั้งอยู่ในฐานะของความมหัศจรรย์ทางเทคโนโลยี ความสำเร็จทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม เป็นสัญลักษณ์แห่งกรุงปารีส และ เป็นยังคงเป็นจิตวิญญาณของฝรั่งเศสเรื่อยไป