วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่มหาวิทยาลัย

เตรียมความพร้อมก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัย
ฤดูกาลของการเปลี่ยนแปลง เพื่อต้อนรับนักศึกษารุ่นใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ต้องถือว่าเป็นช่วงของการปรับตัวครั้งสำคัญในชีวิตการเป็นนักเรียน เพราะนอกจากจะเป็นการเปลี่ยนสถานะจากที่เคยเป็นเด็กน้อยนักเรียน วัยกระโปรงบานขาสั้น

มาเป็น นิสิตนักศึกษากันแล้ว ก็ยังถือว่าได้เวลาของความรับผิดชอบและการเรียนอันหนักหน่วงอีกด้วย
สิ่งที่สำคัญที่สุดและแตกต่างจากชีวิตในวัยนักเรียนอย่างชัดเจน ก็เห็นจะเป็นเรื่องของความรับผิดชอบ ที่ต่อไปนี้ น้องๆ จะต้องรู้จักรับผิดชอบตัวเองให้มากขึ้น ว่ากันตั้งแต่ การลงทะเบียนเลยทีเดียว เพราะวิชาที่เราจะเลือกเรียนนั้น จะแบ่งเป็น 2 หมวดใหญ่ๆ อันได้แก่วิชาบังคับ และวิชาเลือก ซึ่งส่วนที่เป็นวิชาเลือกนี้เอง ที่เราจะต้องจัดตารางเรียนให้ลงตัวให้ได้ ไม่ใช่จะดูกันแค่เวลาเรียนไม่ชนกับวิชาอื่นเท่านั้น ยังต้องดูไปถึงวันสอบในช่วงต่างๆ ของเทอมด้วย ในแต่ละวิชานั้นก็จะเปิดรับนักศึกษาในจำนวนที่จำกัดแตกต่างกันไป ดังนั้น อาจจะต้องอาศัยความว่องไว ใครลงก่อนได้ก่อน ก็อย่างที่บอกว่าไม่ใช่เล่นๆ เหมือนตอนมัธยมอีกแล้วล่ะจ้า

หลักการในการเลือกวิชาในหมวดวิชาเลือกนี้ ก็ให้เลือกเรียนในวิชาที่เรามีความสนใจหรือความถนัดเป็นหลัก เพราะสิ่งที่เราชอบเราก็มักจะทำได้ดี บางคนเลือกตามเพื่อนสนิทแต่พอไปนั่งเรียนจริงๆ แล้วเกิดไม่ชอบ หรือไม่มีความถนัดก็อาจจะทำให้ไม่อยากเรียน และอาจจะตามคนอื่นไม่ทัน ลองนึกถึงเวลาที่เราต้องนั่งเรียนอยู่ในห้องวิชาที่เราไม่ชอบเอาเลย สมัยที่โดนบังคับเรียนในโรงเรียนสิ มันเคยทรมานเช่นไร มันก็จะไม่แตกต่างกันเลย เพราะฉะนั้น ตอนนี้เรามีโอกาสเลือกสิ่งที่เราจะเรียนด้วยตัวเองแล้ว ก็เลือกดีๆ เลือกอย่างมีเหตุผล

และก็อย่าลืม ตามวันสอบ ตามอ่านประกาศต่างๆ ของทางคณะไว้อย่าให้ขาด เพราะเราอาจจะพลาดกำหนดการอะไรบางอย่างไป เรียกว่า ต้องเปิดหูเปิดตาให้กว้างเข้าไว้ เพราะใครๆ ก็ใหม่กันทั้งนั้น หวังพึ่งเพื่อนก็คงพอได้บ้าง แต่ว่าเราก็ต้องเอาตัวเองเป็นที่พึ่งหลักเป็นสำคัญ

เพราะนอกจากเรื่องเรียนแล้ว จะมีบรรดากิจกรรมสำหรับน้องใหม่อีกมากมาย ถาโถมเข้ามาอย่างตั้งตัวกันแทบจะไม่ติด ไหนจะแข่งกีฬา ทั้งในคณะ นอกคณะ งานประเพณีต่างๆ กิจกรรมชมรม ถึงตรงนี้ ต้องแบ่งเวลาให้ดี รับผิดชอบตัวเองว่า เวลาไหนเราต้องทำอะไร จัดวางระหว่างเรื่องเรียนกับกิจกรรมให้ลงตัว อย่าให้พลาด เพราะไม่อย่างนั้น จะลำบากในตอนหลัง เพราะมัวแต่เอาเวลาไปทำกิจกรรม จนอ่านหนังสือไม่ทัน มีผลไปถึงการสอบ อันนี้ต้องระวังนะจ๊ะ

เรื่องของการคบเพื่อนก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน เหมือนเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่บางทีเราก็ลืมคิดว่ามันมีผลต่อชีวิตการเรียน การใช้ชีวิตของเราอีกหลายปีข้างหน้าไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะอย่างที่คำโบราณกล่าวไว้ “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิต พาไปผล” เรื่องนี้นั้นจริงแท้ทีเดียว การเลือกคบเพื่อนที่ดีนั้น ก็จะพากันไปในทางที่ดี และจะมีส่วนช่วยกันตั้งแต่การเรียนไปจนถึงเรื่องกิจกรรม แต่ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าให้เราไปหวังพึ่งเพื่อนเอา 100% เห็นจะไม่ได้ เพื่อนช่วยได้ แต่เราก็ต้องช่วยตัวเราเองด้วย เพื่อนมักจะเป็นส่วนสำคัญในการเติมเต็มส่วนที่เราตกหล่น เหมือนช่วยกันเป็นหูเป็นตา ใครเขาทำอะไร กันที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ ถ้าเราตามไม่ทัน แต่เพื่อนทัน ก็ยังช่วยกันแก้ไขหรือติดตามอะไรๆ ได้ทันท่วงที แต่ถ้าเจอเพื่อนที่ไม่ดี นอกจากจะไม่ได้ช่วยเหลือกันแล้ว ยังพาเราเหลวไหลไปนอกลู่นอกทาง อันนี้ บอกได้เลยว่าไม่เวิร์คค่ะ

และจากวันนี้ไป ก็ตั้งหน้าตั้งตากอบโกยประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด เพราะบอกได้เลยว่า ไม่มีช่วงไหนของชีวิตที่จะสดใส และมันส์ได้เท่าช่วงเรียนมหาวิทยาลัยอีกแล้ว ทั้งเรียนทั้งเล่นจัดตารางชีวิตให้ดี แล้วก็อย่าลืมเก็บเอาความสำเร็จไปให้คนที่บ้านชื่นชมด้วยนะเออ ยังมีคนที่คอยให้กำลังใจเราอีกหลายคน ก็เหลือแต่เราเท่านั้น ที่ต้องรู้จักหน้าที่ในการรับผิดชอบตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ยากสักนิด เป็นกำลังใจให้อีกแรงจ้า
เตรียมความพร้อมก่อน Admission
   ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคมนี้คงจะเป็นเวลาสำคัญของน้องๆ มัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จะต้องเข้าสู่สนามสอบครั้งสำคัญอีกครั้ง นั่นคือการคัดเลือกเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากพอสมควร เพื่อให้ได้นักศึกษาที่มีความสามารถเหมาะสมกับสาขาวิชาที่เลือกเรียน การสอบเพื่อวัดความสามารถทางวิชาชีพจึงมีผลต่อการสอบมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือการสอบวัดระดับ GAT และ PAT นั่นเอง
เพื่อให้น้องๆ ได้เตรียมตัวกันก่อนการสอบ อุทยานการเรียนรู้ TK park จึงได้จัดกิจกรรม TK Talk เตรียมสอบ GAT, PAT และ O-Net อย่างมั่นใจ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมี ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือสทศ. เป็นวิทยากรมาให้ความรู้กับพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง และน้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบ Admission ในปีนี้ และปีต่อๆ ไป
วันนั้นน้องๆ ที่เข้าฟังจะเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และกำลังจะขึ้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ศ.ดร.อุทุมพร จึงขอเน้นไปที่การให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อสอบ GAT และ PAT เพื่อให้น้องๆ ได้เตรียมตัวเพื่อใช้ในปี 2553 ซึ่งจะเป็นการสอบ Admissionระบบใหม่เต็มตัว

      ตามความหมายแล้ว Admission ไม่ใช่การสอบเหมือนกับการ Entrance แต่เป็นระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐทั้ง 23 แห่ง ซึ่งเดิมมี 21 แห่ง แต่ภายหลังเพิ่มมหาวิทยาลัยนครพนม และมหาวิทยาลัยนราธิวาส เข้ามาอีกจึงเป็น 23 แห่งที่เป็นระบบปิด ไม่รวมมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ที่เป็นมหาวิทยาลัยเปิด และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ที่รับปริญญาโท ซึ่งเป็น 3 แห่งที่ไม่ต้องใช้ระบบ Admission ในการเข้าศึกษาต่อ (รวมแล้วมหาวิทยาลัยของรัฐบาลมีทั้งหมด 26 แห่ง)
การคัดเลือกด้วยวิธี Admission คือการคัดเลือกโดยการสอบ และรู้ผลคะแนนก่อนจึงเริ่มรับสมัครเพื่อเลือกคณะที่ต้องการ ต่างกับการสอบ Entrance ที่จะเลือกคณะก่อน แล้วจึงสอบวัดผล ซึ่งในระบบ Entrance นั้นนักเรียนจะไม่ทราบความสามารถของตัวเอง และเลือกแต่คณะตามแฟชั่นนิยม ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร จึงได้มีการประกาศใช้ระบบ Admission ล่วงหน้า 3 ปี เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนของนักเรียนที่กำลังสอบเข้าในช่วงเวลานั้น โดยระบบ Admission จะมีการอ้างอิงผลการเรียนตลอดระดับชั้นมัธยม (คะแนนGPA และ GPAX) รวมไปถึงการวัดความถนัดทางด้านวิชาเฉพาะต่างๆ ซึ่งเราเคยได้รู้จักกันในการสอบ O-Net และ A-Net นั่นเอง

เทคนิคเตรียมตัวสอบให้พร้อมรับมือ Admissions

เทคนิคเตรียมตัวสอบให้พร้อมรับมือ Admissions

คำว่าพร้อมนั้น สภาพที่น้องๆมีความมั่นใจอย่างเต็มที่ในเรื่องนั้นๆ แต่ปัญหาก็คือ เมื่อไหร่เราจะพร้อม เนื่องจากเวลาของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากันดังนั้นพี่ก็จะมาบอกวิธีการเตรียมตัวเข้ามหาลัยโดยแบ่งตามระยะเวลากันครับ ซึ่งถ้าเป็นไปได้น้องๆที่ยังไม่ขึ้น ม.6 ก็ขอให้ตั้งใจอ่านให้ดีนะ

มีเวลาเตรียมตัวสอบ 1-2 ปี

ถ้าน้องเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ ม.4 ก็อยู่ในช่วงนี้ครับ ถือว่าเป็นช่วงการเตรียมตัวที่ดีมาก เพราะระยะเวลาเรียกได้ว่าเหลือเฟือเลยทีเดียว สิ่งแรกที่น้องต้องทำคือ เลือกเส้นทางให้ตัวเองก่อนว่าจะเลือกเดินไปในสายทางอาชีพอะไร หลังจากที่น้องเลือกแล้วน้องก็ต้องไปศึกษาต่อว่าสายที่เราเลือกไปนั้นเราชอบจริงหรือไม่ ซึ่งด้วยเวลาในการเตรียมตัวที่มากจะทำให้น้องสามารถพิจารณาหลายๆสาขาได้เลยครับ
แล้วหลังจากที่ได้สาขาที่ใช่แล้วก็ให้น้องมองหาเส้นทางต่างๆว่า การที่เราจะเข้าไปเรียนที่คณะนี้เราต้องสอบตรงไหนบ้าง มีวิชาอะไร วิชาไหนสำคัญ วิชาไหนยาก แล้วก็ไปถึงขั้นตอนสุดท้ายก็คือการอ่านหนังสือกักตุนไปเรื่อยๆวันละ 1-2 ชั่วโมงหลังเลิกเรียนก็ได้ครับเพราะเวลาเราเยอะไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ

มีเวลาเตรียมตัวสอบ 7-11 เดือน

สำหรับคนที่มีเวลาเตรียมตัวอยู่ในช่วงนี้แสดงว่าน้องเพิ่งขึ้น ม.6 ใช่ไหมครับ สิ่งแรกที่พี่แนะนำเลยก็คือถ้าน้องยังไม่รู้จะเข้าคณะอะไรให้หาคณะที่ตัวเองชอบก่อน โดยอาจจะดูได้จากวิชาที่ถนัด รู้สึกมีความสุขในการเรียนก็ได้ครับ ซึ่งหลายคนอาจจะบอกว่าคิดยังไงก็คิดไม่ออกว่าจะเรียนอะไร คำแนะนำที่พี่จะมอบให้ก็คือ ถึงน้องจะคิดไม่ออกน้องก็ต้องรู้ให้ได้ครับว่าต้องการเรียนอะไรไม่งั้นมันจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังจนเมื่อถึงเวลาใกล้จบ ม.6 น้องจะเครียดและปวดหัวกับเรื่องนี้มากกว่าการที่คิดไม่ออกว่าจะเรียนอะไรในตอนนี้อีกครับ ดังนั้นเราก็ต้องคิดให้ออกว่าอยากเรียนอะไร และหลังจากรู้แล้วก็วางแผนอ่านหนังสือ วางแผนสอบได้เลยครับเวลายังเหลือเฟือ

มีเวลาเตรียมตัวสอบ 5-6 เดือน

ถ้าหากน้องเพิ่งมาตระหนักถึงเรื่องเข้ามหาวิทยาลัยในช่วง 5-6 เดือนสุดท้ายก่อนชีวิตมัธยมจะจบก็ถือว่ายังพอมีเวลาให้ปรับเปลี่ยนอยู่ครับ โดยก็ใช้หลักเดียวกันกับข้ออื่นคือต้องหาให้ได้ก่อนว่าเราต้องการจะเรียนอะไร แต่ปัญหาจะมาอยู่ที่การสอบตรงบางที่ที่เราอยากจะเข้ามักจะผ่านไปแล้วซึ่งทำให้เราเสียเปรียบคนอื่นอย่างมาก จึงทำให้การเริ่มเตรียมตัวด้วยเวลาที่เหลือเพียง 5-6 เดือนนั้นจึงต้องไปหวังแอดกลางเป็นหลักครับ โดยน้องต้องอ่านหนังสือวันละ 2-3 ชั่วโมงเลยในการท่องศัพท์ ฝึกทำแบบฝึกหัดและข้อสอบเก่าครับ แต่ก็ยังโชคดีอยู่ที่ยังพอทันเวลา

มีเวลาเตรียมตัวสอบ 2-3 เดือน

นี่คือช่วงโคม่าที่สุดแล้วครับ หลายคนอาจสงสัยว่าจะมีใครที่ปล่อยให้เวลามาถึงขนาดนี้แล้วค่อยมาเตรียมตัวด้วยเหรอ พี่ตอบได้เลยครับว่ามีแน่นอน แม้กระทั่งพวกที่การสอบจบไปแล้วยังไม่เริ่มเตรียมตัวก็มีครับ ซึ่งการเริ่มเตรียมตัว 2-3เดือนก่อนหมดชีวิต ม.6 ก็ยังถือว่าดีกว่าที่จะไม่สนใจจริงไหมครับ ถ้าหากใครอยู่ในช่วงนี้พี่ก็ขอแนะนำให้อ่านหนังสือแบบสุดๆไปเลยครับก อย่าคิดเด็ดขาดว่าหมดหวังแล้ว เพราะความคิดติดลบนี่แหละที่จะทำให้น้องสอบไม่ติดไม่ใช่ระยะเวลาหรอกครับ ส่วนคำเตือนที่จะบอกอีกข้อก็คือ น้องจะต้องอ่านหนังสือหนักมากๆดังนั้นสิ่งที่ยากที่สุดก็คือการบังคับให้ตัวเองอ่านหนังสือนี่แหละ ดังนั้นก็อย่าขี้เกียจลองฝืนตัวเองสักครั้ง

เคล็ดลับ 7 ขั้นตอนการเตรียมตัวสอบ Admission

1. ค้นหาตัวเอง และคณะที่ตัวเองชอบ : การจะทำอะไรให้มันสำเร็จได้มันต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป้าหมายของการสอบ Admission ก็คือทำคะแนน GAT/PAT และ O-NET ให้มันดี แต่จริง ๆ แล้วการวางเป้าหมายแค่นั้นมักไม่เพียงพอ เพราะเวลาเราเหนื่อยเราท้อกับการอ่านหนังสือ เราจะเลิกความคิดที่จะทำคะแนนสูง ๆ อีกต่อไป และสาเหตุที่เป็นแบบนี้เพราะเราไม่มีหลักจริง ๆ
Tips: เทคนิคในการค้นหาตัวเอง และคณะที่ตัวเองชื่นชอบ
1) พิจารณาจากบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยส่วนตัว
2) พิจารณาจากความสามารถทางด้านวิชาการ
3) หาข้อมูลจากรุ่นพี่ๆประกอบการตัดสินใจ
2. รวบรวมข้อมูล : หลังจากรวบรวมข้อมูลแล้วตัดสินใจได้ว่าอยากเรียนคณะอะไร หรืออยากทำอาชีพอะไรแล้ว คราวนี้เราก็มาหาที่เรียนกันโดยการรวบรวมข้อมูลของคณะที่เราอยากจะเข้า พิจารณาคณะที่เราต้องการในหลาย ๆ มหาวิทยาลัย ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการสมัครว่ามีวิธีการรับทางใดได้บ้าง เพราะในบางคณะจะมีวิธีการรับเข้าหลายวิธีด้วยกัน เช่น การรับตรง (โควต้า) หรือ การใช้คะแนน GAT/PAT รอบแรก นอกจากนั้นบางคณะยังมีภาคภาษาอังกฤษอีกด้วย เราจึงควรรวบรวมข้อมูลโดยอ้างอิงจากข้อมูลปีที่แล้วว่าจะมีการเปิดให้สมัคร และมีการสอบในช่วงใดของปี วิชาที่ใช้สอบและเนื้อหาข้อสอบ เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วให้เขียนไว้ในปฏิทินว่าช่วงไหนน่าจะมีอะไรเปิด บ้าง จากนั้นก็คอยติดตามข่าวจาก website คณะหรือมหาวิทยาลัย
3. ทดสอบตัวเอง : เมื่อรู้ข้อมูลวิชาที่ต้องการจะสอบแล้ว ให้ลองทำการจำลองการสอบด้วยตัวเอง จับเวลาให้เหมือนข้อสอบจริง และสอบให้ครบทุกวิชา ย้ำว่าต้องจับเวลาแบบจริงจัง จากนั้นก็ตรวจข้อสอบ แล้วดูคะแนนที่ทำได้ เทียบกับคะแนนต่ำสุดของคณะนั้นๆที่เราต้องการ แน่นอนว่าคะแนนของเราก็มักจะต่ำกว่าคะแนนต่ำสุด เพราะอาจจะมีอีกหลายบทที่ยังไม่ได้เรียน หรือยังไม่ได้ทบทวน คะแนนย่อมน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แต่สิ่งที่เราต้องการคือการประเมินว่าเราห่างจากเป้าหมายของเรามากแค่ไหน แล้วอะไรหรือวิชาใดที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าคณะนั้น

4. จัดตารางการอ่านหนังสือ :
 เมื่อรู้แล้วว่าอะไรคือจุดอ่อนของเรา วิชาใด หรือบทใดที่จำเป็นต่อการสอบ แต่เรายังมีความรู้ไม่แน่นพอ ตอนนี้ก็ถึงเวลาวางตารางการอ่านหนังสือ ระยะเวลาและความหนักเบาของการอ่านหนังสือนั้นไม่สามารถจะกำหนดได้ชัดเจน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้จดจำ และที่ขาดไม่ได้คือต้องประเมินว่าคณะที่เราเลือกมีคู่แข่ง และคะแนนต่ำสุดมากน้อยแค่ไหน การจัดตารางการอ่านหนังสือควรจะวางแผนอ่านหนังสือให้เสร็จ 1 เดือนก่อนวันสอบ เพราะว่า 1 เดือนไม่ควรจะมาทบทวนเนื้อหาแล้ว ควรจะฝึกทำโจทย์จับเวลาและเน้นพัฒนาด้านเทคนิคเท่านั้น
5. ตะลุยข้อสอบ :
 1 เดือนก่อนวันสอบจริง ให้เริ่มทำข้อสอบเสมือนจริงและจับเวลาเสมือนจริง อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ส่วนวันอื่นๆก็ให้จัดตารางทำข้อสอบเป็นรายวิชาแยกไปแต่ละวัน ทุกๆอาทิตย์ก็ทำการประเมินว่ายังมีตรงไหนที่ไม่กระจ่าง ไม่เคลียร์ ทำการทบทวนและปรึกษาผู้รู้ หรือเพื่อนที่ถนัดวิชานั้นๆ มาช่วยก็ได้
6.  ทำใจให้พร้อม : ฝึกสมองมามากแล้ว อย่าลืมฝึกจิตใจ หาเวลานั่งสมาธิเพื่อลดความประหม่า ยิ่งใกล้วันสอบ ยิ่งคณะที่เราเลือกมีการแข่งขันสูง ความประหม่าก็ยิ่งมา ความประหม่าและความเครียดอาจจะทำให้วันสำคัญของเราล้มเหลวได้ ดังนั้นขอให้เชื่อในความรู้และความสามารถของตัวเอง คิดซะว่าผลมันคือเรื่องรอง ความพยายามและความตั้งใจจริงคือสิ่งสำคัญที่สุดในการสอบ
7. เตรียมเอกสารและอุปกรณ์การสอบให้ครบ 1 วันก่อนวันสอบ :
 เตรียมเอกสาร เหลาดินสอ ปากกา ยางลบ และบัตรประจำตัวต่างๆไว้ในซองใสเตรียมให้ครบก่อนหน้าวันที่จะสอบ อย่าเตรียมของตอนเช้าของวันสอบ ความตื่นเต้น และความลนอาจจะทำให้เราเผลอลืมหยิบสิ่งสำคัญเหล่านี้ได้

6 เทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมสอบ

1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะสอบติด ฝันไปเถอะ
2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง ใช่หรือไม่
3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า “เราจะเป็นพยาบาล” จะเรียนแพทย์ก็ต้องเขียนไว้เลยว่า “ปีหน้าจะไปเหยียบแผ่นดินแพทย์ศิริราช-จุฬา” อะไรทำนองนี้ เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน
4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม
5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัดก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง แล้วจะทำได้ไง วิธีการคือ อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง
6.ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า “เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใคร กำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต ต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ 

9 เคล็ยดลับเตรียมตัวสอบให้ได้คะแนนดี

มีความตั้งใจแน่วแน่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง สร้างกำลังใจในการอ่านหนังสือ เอาชนะความเกียจคร้าน
วิเคราะห์ตัวเอง
วิเคราะห์ ว่าเรามีความชอบและมีความถนัดในสาขาวิชาไหน แล้วลองเลือกมาเก็บไว้ 3 อันดับ โดยเลือกตามความถนัดของตัวเอง ไม่เลือกตามเพื่อน ตามใจพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือตามกระแสนิยม
วิเคราะห์สาขาวิชาที่จะสอบ
วิเคราะห์ สาขาวิชาที่ชอบนั้นว่าเรามีพื้นฐานความรู้ในสาขานั้นๆมากพอที่จะสอบติดหรือ ไม่ มีเวลาอ่านหนังสือพอหรือเปล่า แล้วสาขาวิชากนั้นมีการแข่งขันสูงแค่ไหน แล้วประเมินตัวเองตามความเหมาะสม ถ้าอันดับ 1 ที่เลือกไว้นั้นเป็นไปไม่ได้ ก็มุ่งไปที่อันดับ 2 หรือ 3
การเตรียมความพร้อม
เตรียม ตัวอ่านหนังสือ หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ หาอาจารย์หรือเพื่อนที่คนเก่งๆ มาติว เตรียมห้อง และอุปกรณ์สำหรับการอ่านหนังสือ
วางแผนการใช้ชีวิต
ลอง ออกแบบชีวิตตัวเองดูว่า ในวันหนึ่งเราจะทำอะไรบ้าง อะไรที่จำเป็นและอะไรที่ไม่จำเป็น พยายามใช้เวลาในการอ่านหนังสือให้มากที่สุด
วางแผนการอ่านหนังสือ
เริ่ม ต้นวางแผนว่าจะเลือกอ่านวิชาไหนก่อน ควรเลือกอ่านวิชาที่ชอบหรือถนัดก่อน เลือกทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดจากง่ายก่อน เพื่อเป็นสร้างกำลังใจในการอ่านวิชาต่อไป ซึ่งต้องวางแผนการอ่านให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่เหลือของการสอบ
งดกิจกรรมอื่นๆ ชั่วคราว
สร้าง กฏเหล็กให้กับตัวเอง เช่น เลิกเล่นเกม เลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกchat msn เลิกเม้น hi5 เลิกคุยโทรศัพท์นานๆ ชั่วคราว แต่อาจผ่อนคลายด้วยการออกกำลังกาย หรือการนั่งสมาธิ
เทคนิคการอ่านหนังสือ
อย่า ปล่อยให้ตัวเองมีเวลาว่าง อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส พกหนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที พยายามจดโน้ตสาระสำคัญไว้ ไม่ควรนอน กินขนม ฟังเพลง ดูทีวี พร้อมๆกับการอ่านหนังสือ ควรใช้สมาธิในการอ่านอย่างเดียว
สร้างกำลังในให้ตัวเองอย่างต่อเนื่อง
ใน ช่วงเวลาของการอ่านหนังสือ เราจะพบอุปสรรค์มากมาย เช่น ความขี้เกียจ ง่วง ความกังกล ความเบื่อหน่าย ต้องหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่นการออกมาสูดอากาศนอกห้อง กินขนม ดูทีวี ฟังเพลง พูดคุยกับครอบครัว เล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือเล่นดนตรีซักพักแล้วค่อยเริ่มต้นอ่านใหม่ พยายามเชื่อมั่นว่าเราทำได้ และสร้างกำลังใจอยู่ตลอดเวลา

4 วิธีออกกำลังกายสมองช่วยเพิ่มความจำ

1. หัวเราะสักนิด
ล่าสุดงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย โลมา ลินดา ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า การหัวเราะเพียงแค่ 20 นาทีส่งผลให้ ความจำ ในระยะสั้นดีขึ้น ระดับฮอโมนคอร์ติซอล (Cortisol) หลั่งน้อยลง และความดันโลหิตลดลงด้วย แนะนำให้ดูหนังตลกกับเพื่อนหรือคนรู้ใจก็เป็นวิธีหนึ่งในการสร้างเสียงหัวเราะ
2. นอนหลับลึก
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า การนอนหลับจะทำให้เซลล์สมองเกิดการเชื่อมต่อถึงกันและกัน โดยเฉพาะช่วงการหลับลึกที่เซลล์สมองจะสามารถจดจำ และเก็บความทรงจำไว้ได้
3. ฝึกการเขียน
นักจิตวิทยา มหาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งลอสแองเจอลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า กลุ่มนักศึกษากลุ่มที่ใช้ปากกาจดบันทึกมีความสามารถในการจดจำเนื้อหาได้มากกว่ากลุ่มที่บันทึกโดยการพิมพ์ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา
4. การนั่งและยืน
ดร.อิริค เปเปอร์ มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การนั่งและยืนด้วยท่าท่างที่ถูกต้องนั้นช่วยให้สมองจดจำเรื่องราวต่างๆได้ดี เพราะเลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้มากถึง 40 เปอร์เซ็นต์
หากปฏิบัติกันเป็นประจำ นอกจากช่วยพัฒนาสมองแล้ว ยังป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย

ฝึกสมองเพิ่มความจำ ป้องกันสมองเสื่อม

1. พัฒนาสมองด้วยดนตรี เช่น การฟังดนตรีคลาสิคและเพลงบรรเลง ของโมสาร์ท
มีการศึกษาพบว่า ดนตรีจะช่วยให้ความคิดเป็นไปในทางที่ถูกต้องและมีกระบวนการคิดที่เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นให้สมองมีการพัฒนาและเติบโตขึ้น มีสมาธิและจิตใจสงบ วิธีนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เจอแต่ความเครียดมาทั้งวัน
2. พัฒนาสมองด้วยการทำสิ่งใหม่ๆเช่น เรียนศิลปะ เรียนภาษา เต้นรำ เล่นกีฬา เป็นต้น
การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือกระทำสิ่งใหม่ๆ จะช่วยกระตุ้นสมองของเราให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้ วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ทำให้สมองได้มีการทำงานไปในตัวด้วย
3. การฝึกจำเป็นการบริหารสมองที่ดีมาก
อายุที่มากขึ้น อาจทำให้ประสิทธิภาพความจำด้อยลง ก็เพราะสมองเริ่มฝ่อนั่นเอง ดังนั้นจึงต้องบริหารสมองด้วยการหางานให้สมองทำงานอยู่เสมอ เพื่อเป็นการชะลอการเสื่อมของสมองนั่นเอง มีวิธีง่ายๆเช่นลองฝึกจำตัวเลข เบอร์โทรศัพท์ ท่องศัพท์วันละ 10คำ
4. พัฒนาสมองด้วยการบริหารจิตเช่น การเล่นหมากรุก เล่นเกมลับสมอง เกมใบ้คำ ปริศนาอักษรไขว้หรือการคิดคำนวณโดยไม่ใช้เครื่องคิดเลข ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาสมอง
วิธีการเหล่านี้เป็นการสั่งจิตใจให้จดจ่ออยู่กับกิจกรรมที่ทำเพียงอย่างเดียว นอกจากได้บริหารสมองแล้วยังได้ฝึกสมาธิไปด้วย
5. พัฒนาสมองด้วยอาหารที่สมองต้องการ ได้แก่ กรดไขมันจำเป็นomega 3ซึ่งจำเป็น
ต่อการฟื้นฟูเซลล์สมอง ส่วนเลซิตินก็มีความสำคัญในการสร้างสารสื่อประสาทให้แก่สมอง นอกจากนี้ยังมีสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมองเสื่อม
สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยยังมีบทบาทในการเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือดส่งผลให้การนำพาออกซิเจนและอาหารไปเลี้ยงสมองได้ และส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น
ดังนั้นการเลือกรับประทานสารอาหารดังกล่าว ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยดูแลสมองได้อย่างดี แต่ทั้งนี้
แล้วการเลือกรับประทานสารอาหารได้อย่างคุ้มค่าและปลอดภัยนั้นก็ควรตระหนักถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์สารอาหารนั้นๆด้วย ควรมีหลักการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานการผลิตยาระดับสากล ซึ่งให้ความมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยที่ปราศจากสารปนเปื้อน
Reference