วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เปตอง

กีฬาเปตองเบี้องต้น

ประวัติความเป็นมากีฬาเปตองในประเทศไทย
    กีฬาเปตองได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยการริเริ่มของนายจันทร์  โพยหาญ นำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ให้คนรู้จัก อย่างเป็นทางการคนแรก นายจันทร์  โพยหาญได้ร่วมกับนายศรีภูมิ สุขเนตร ซึ่งเป็นอดีตนักเรียนเก่าฝรั่งเศส ซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านกีฬาเปตองเป็นอย่างดี ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมเปตอง และโรปวังซาล แห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519 โดยมีนายศรีภูมิ สุขเนตร เป็นนายกสมาคมคนแรกเมื่อจัดตั้งสมาคมเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการได้ช่วยกันรณรงค์เผยแพร่ และสาธิตการเล่นเปตองมาโดยตลอด แต่ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร
    ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีทรงช่วยส่งเสริม และเผยแพร่ให้อีกทางหนึ่ง โดยทรงรับสั่งให้จัดการแข่งขันเปตองชิงชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ซึ่งพระองค์ท่านและสมเด็จพระพี่นางเอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ ทรงได้ลงร่วมทำการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย และอีกหลาย ๆ รายการจึงให้สมญานามกีฬาเปตองว่า “กีฬาสมเด็จย่า”
    ใน พ.ศ. 2527 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ รับสมาคมเปตองและโปรวังซาล แห่งแระเทศไทย ไว้ในพระอุปถัมภ์ และวันที่ 22 เมษายน 2530 เปลี่ยนชื่อสมาคมเปตองฯ เป็นสหพันธ์เปตอง แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ สำนักงานตั้งอยู่ที่ 2088 อินเดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก กรุงเทพฯ ปัจจุบันกีฬาเปตอง มีการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬา ของส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชนด้วย เช่น กีฬาแห่งชาติ กีฬาเขตการศึกษา กีฬากองทัพไทย กีฬามหาวิทยาลัย กีฬาของกระทรวงต่าง ๆ กีฬารัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
    จุดเด่นของกีฬาเปตอง
1. เป็นพื้นฐานในการเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ ลักษณะของการเล่นเป็นการ เสริมสร้างแนวความคิด และสติปัญญาของผู้เล่น
2. ในระหว่างการเล่นร่างกายจะได้รับการบริหารทุกส่วน กล่าวได้ว่าในการเล่นเปตอง 6 เกมส์/วัน จะต้องออกกำลังในการใช้ลูกบลูที่มีน้ำหนัก 680/700 กรัม ถึงประมาณ 200 ครั้ง ก้มขึ้นลงประมารณ 250 ครั้ง เดินไปมาในสนามประมาณ 3 กิโลเมตร
3. การเล่นกีฬาประเภทนี้ง่าย และสะดวก เล่นได้ทุกเวลาทั้งในร่ม และกลางแจ้ง สนามเดิน หญ้า และลูกรัง
    ประโยชน์ของกีฬาเปตอง
พัฒนาทางด้านร่างกาย

- กำลังแขน ผู้เล่นจะฝึกการใช้กำลังทั้งนิ้วมือ ข้อมือ แขน ข้อศอก และหัวไหล่ให้สัมพันธืกัน เพื่อการบังคับลูกให้ได้จังหวะ และระยะที่ต้องการ
- กำลังขา ผู้เล่นจะต้องเดินไปเดินมาตามความยาวของสนามซึ่งมีขนาดยาว 15 เมตร กว้าง 4 เมตร ลุกนั่ง เพื่อการวาง หรือเข้าลูกตลอดเวลาการเล่น
- สายตา กีฬาเปตองช่วยให้เกิดการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างสายตา และมือ เนื่องจากต้องใช้สายตา กะระยะทาง พิจารณาแง่มุมต่าง ๆ ที่จะเข้าลูกตีลูก เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามต้องการ

 พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
- กีฬาเปตองเป็นเกมการเล่นที่จำเป็นต้องอาศัยการคิด คาดคะเน และการอ่านเกมในการเล่น อย่างจริงจัง คิดเกมรับเมื่อเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเกมรุกที่บังคับให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นตามเกมที่เราวางไว้

พัฒนาการทางด้านจิตใจ
- กีฬาเปตองมีทั้งเดี่ยว คู่ทีม ผู้เล่นจะต้องเข้าใจถึงจิตใจของผู้ร่วมทีมเป็นอย่างดี มีการปรึกษาหารือกัน ยอมรับความคิดของกัน และกัน แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สมาธิเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าเป้นการเล่นประการใด ๆ ผู้เล่นจะต้องฝึกการวางเฉย ทำจิตให้สงบ ทำสมาธิให้ได้ ตั้งความหวังให้น้อย กว่าความเป็นจริง ไม่วิตกกังวลเกินไป ไม่ท้อถอยในการเล่น ไม่สนใจเสียงข่มขวัญ เสียงเชียร์ที่ดัง การสอนเกมการเล่นของฝ่ายตรงข้าม เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดความกังวลสับสน จะมีผลต่อเกมการเล่น ถ้าสมาธิไม่ดีพอ

การพัฒนาการทางด้านสังคม
- กีฬาเปตอง เป็นกีฬาที่เล่นได้ไม่ยาก จึงมีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายจะเห็นได้ว่าในหมู่บ้าน หน่วยงานของรัฐและเอกชนได้จัดให้มีการแข่งขัน เพื่อให้ผู้เล่นได้มาพบปะสังสรรค์ได้รู้จักและได้ร่วมสนุกกัน นับเป็นการสร้างสังคมอันดีแก่นักกีฬา นอกจากนี้ยังลดปัญหาสารเสพติด เนื่องจากคนหันมาเล่นกีฬาล่งผลให้ปัญหาอาชญากรรมลดลง
- ดังนั้นการเล่นกีฬาเปตองจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของการเล่น การใช้เทคนิคทุกรูปแบบ

อุปกรณ์การเล่นเปตอง
1. ลูกเปตอง (ลูกบูล) เป็นลูกทรงกลมด้านในกลวง ทำด้วยโลหะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 71-76 ม. มีน้ำหนัก 350-800 กรัม มีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนัก และเลขรหัสปรากฎอยู่บนลูกบูลอย่างชัดเจน หมายเหตุ : ปัจจุบันประเทศไทยมีลูกเปตองที่ทำด้วย พลาสติกเรียกว่า “ลูกพลาสตอง” ผลิต จำหน่าย โดยบริษัท มาราธอน มีขนาด น้ำหนัก มาตรฐาน ใกล้เคียงกับลูกเปตองสามารถใช้เล่นฝึกซ้อม หรือแข่งขันได้ในบางรายการ
2. ลูกเป้า เป็นลูกทรงกลมทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติก มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 25-35 ม.ม. ทาสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
3. สนามเล่น สามารถเล่นได้ทุกสนาม ที่มีด้านหน้าเรียบยาวตรงพอประมาณ ขนาดของสนามกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร (ยกเว้นพื้นไม้ พื้นคอนกรีตลาดยาง)
ประเภทการเล่น
แบ่งประเภทการเล่นเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทเดี่ยว ใช้ลูกบูล 3 ลูก
2. ประเภทคู่ คู่ผสม ใช้ลูกบูลคนละ 3 ลูก
3. ประเภททีม ใช้ลูกบูลคนละ 2 ลูก
วิธีการเล่นเปตอง
แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ๆ ละเท่า ๆ กัน ให้ลูกบูลมีลวดลายต่างกัน
- เริ่มด้วยการเสี่ยง เพื่อตัดสินว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายได้เริ่มเล่นก่อน
- ฝ่ายชนะเสื่ยงเริ่มเล่นคนใดคนหนึ่ง เลือกจุดเริ่มต้น เขียนวงกลมบนพื้นสนามเส้นผ่านศูนย์กลาง ระหว่าง 35-50 ซม. ห่างจากเส้นสนามได้น้อยกว่า 1 เมตร
- ฝ่ายชนะการเสี่ยงคนใดคนหนึ่งเข้าไปโยนลูกเป้าในสนาม ให้ห่างจากจุดเริ่มต้น ตามระยะดังนี้
- สำหรับเด็กเล็ก    ไม่น้อยกว่า 4 เมตร ไม่เกิน 8 เมตร
- สำหรับเยาวชน    ไม่น้อยกว่า 5 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- สำหรับเยาวชน    ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- ผู้ใหญ่หรือทั่วไป ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 10 เมตร

การบริหารร่างกายก่อนและหลังการฝึก
ก่อนการเล่น

การ บริหารร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักกีฬาทุกคน และต้องปฏิบัติเป็นประจำ ก่อนและหลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ระบบภายในต่าง ๆ ของร่างกายตื่นตัว ระบบประสาทมีความฉับไวในการรับคำสั่งจากสมอง ไม่เกิดอาการเฉื่อยชา ระบบการหายใจทำงานได้สะดวก หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี ปอดมีการขยายตัว ทำให้มีความจุของปอดทำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ นอกจากนั้นยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยืดหยุ่น แข็งแรงทนทานพร้อมที่จะเริ่มต้นฝึกซ้อมได้
หลังการเล่น
หลัง การฝึกซ้อม ทุกครั้ง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกิดความตึงเครียด และเสียพลังงานไปเป็นจำนวนมาก การบริหารร่างกายหลังการฝึกซ้อม เช่น บีบ นวด กด จับ ทุกสลับกันไป จะเป็นการผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความเมื่อยล้า และนอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบภายในส่วนต่าง  ๆ ของร่างกายกลับสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด

วิธีการจับลูกเปตอง
1. หงายมือวางลูกบูลลงไปในอุ้มมือในท่าที่สบาย (รูปที่1)
2. หรือคว่ำมือจับลูก (รูปที่2)
3. ทั้งนี้จะจับแบบใดก้ได้แต่ความถนัดของแต่ละบุคคล

4. ก่อนโยนลูกให้คว่ำมือลงดังรูปที่ 3,4,5,6 เหตุที่ต้องคว่ำมือเพราะจะสามารถบังคับลูกให้ไปตามทิศทางที่เราต้องการได้ ไม่ว่าลูกที่ปล่อยไปนั้นเป็นลูกเข้าหรือลูกตี

5. ก่อนโยนให้หักข้อมือลง และม้วนเข้าหาข้อมือ ในจังหวะสุดท้าย ที่จะปล่อยลูกให้ใช้อุ้งมือส่งลูกออกไป โดยใช้ปลายนิ้วบังคับลูก
หลักการบังคับลูกเปตอง
นัก เปตองที่ฝึกหัดใหม่ มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการบังคับลูกเปตองอย่างมาก สาเหตุอาจมาจากการฝึกที่ผิด หรือการไปจำวิธีการผู้อื่นแล้วนำมาฝึกอย่างผิด โดยขาดการแนะนำ หรือจากการฝึกที่ฝืนธรรมชาติของตนเอง การฝึกการบังคับลูก ไม่ว่าจะเป็นลูกเข้าหรือลูกตี ลูกหมุนซ้าย หมุนขวา หรือลูกสกรู (ลูกหมุนกลับหลัง) ปลายนิ้วมือและข้อมือมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการบังคับลูก
หลักการเข้าลูกบูล
การเข้าลูกบูล ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเล่นเปตอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร มีหลักการเข้าลูกดังนี้
1. ใช้ความสังเกต และจดจำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และคู่ต่อสู่
2. ศึกาพื้นสภาพที่ใช้ฝึก หรือแข่งขัน ว่ามีสภาพเป็นเช่นไร แข็ง เรียบ ขรุขระ ฯลฯ
3. หาจุดตก เพื่อจะได้คำนวณน้ำหนักมือที่จะส่งลูก ให้พอเหมาะกับระยะ
4. ไม่ควรโยนลูกออกจากมือ ถ้าสมาธิยังไม่ดีพอ
นอกเหนือจาก 4 ประการนี้แล้ว สิ่งที่อาจทำให้การเข้าลูกไม่ดีเท่าที่ควรก็คือ ลูกบูลน้ำหนักและมือไม่สมดุลกัน การเข้าลูกมี  2 ลักษณะ คือ นั่งกับยืน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือยืน เท้าทั้งสองข้างจะต้องอยู่ในวงกลม ไม่เหยียบกัน และไม่ยกเท้าในขณะโยนลูก
ลักษณะการนั่งเข้าลูก นั่งบนส้นเท้า มีเท้านำ และเท้าตาม เขย่งส้นเท้าขึ้น และเท้าทั้งสองต้องอยู่ในวงกลมไม่เหยียบเส้น


ยืนเข้าแบบเท้าคู่
ลักษณะ การ ยืนเข้า หรือการตีลูก ยืนเท้าคู่ หรือแบบมีเท้านำก็ได้แล้วแต่ความถนัด ของแต่ละบุคคล แต่ถ้าถนัดโยนลูก , ตีลูก ด้วยมือขวา ควรยืนเท้าขวานำเล็กน้อย เพื่อให้การทรงตัวมีฐานที่มั่นคง

วิธีการเข้าลูก
วิธีการเข้าลูกมีอยู่ 3 แบบ คือ
1. การโยนลูกระยะใกล้ (ลูกไลน์) การโยนลูกระยะใกล้ (ลูกไลน์) เป็นการโยนลูกให้ตกตั้งแต่จุดโยนหรือไม่เกิน 3 เมตร จากจุดโยน ใช้แรงเหวี่ยงจากแขน ข้อมือ และปลายนิ้วส่งลูก ระยะทางที่ลูกบูลวิ่งเข้าหาเป้าจะมีระยะทางไกลทิศทางของลูกบูลอาจมีการ เปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามลักษณะของพื้นสนามการโยนลูกนี้เหมาะสำหรับสนามเรียบ เท่านั้น

2. การโยนลูกระยะกลาง (ฮาฟดร๊อป) การโยนลูกระยะกลาง (ฮาฟดร๊อป) เป็นการโยนลูกให้ตกเกือบกึ่งกลางระหว่างจุดเริ่มกับลูกเห้าต้องโยนลูกให้สูง กว่าการโยนลูกระยะใกล้ และทุกลูกที่โยนออกไปต้องเป็นลูกที่หมุนกลับหลัง (ลูกสกรู) ข้อสำคัญของการโยนลูกคือ จุดตก การโยนลูกนี้เหมาะสำหรับพื้นสนามที่ไม่เรียบ เป็นหลุม พื้นสนามแข็ง ขระขระ หรือ จุดตกของการปล่อยลูกระยะใกล้เป็นหลุมไม่สามารถหาจุดตกได้

3. การโยนลูกโด่ง (ดร๊อฟ) การโยนลูกโด่งต้องโยนให้สูงกว่าลูกระยะกลาง และต้องให้ลูกหมุนกลับหลัง (สกรู) มากกว่า โดยใช้ปลายนิ้วสกรูลูก ไม่ใช่เป็นการกระดกข้อมูล การโยนลูกนี้จุดตกมีความสำคัญมาก ลูกนี้เหมาะสมกับพื้นสนามที่ไม่เรียบ เปียกแฉะ เป็นหลุมเป็นบ่อ ต้องโยนให้เกือบถึงลูกเป้า ห่างจากลูกเป้า ประมาณ 50-100 ซม. ทั้งนี้ต้องแล้วแต่พื้นสนาม ในการแข่งขันระดับโลกส่วนใหญ่จะใช้โยนลูกลักษณะนี้ เพราะสนามแข่งขันเป็นหินเกร็ด

วิธีการฝึกเข้าลูก
วิธีที่ 1 ให้เขียนวงกลมเป็นเป้าหมายซ้อนกันหลาย ๆ วง วงในสุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. วงนอกต่อ ๆ มาห่างกันวงละ 10-15 ซม. กำหนดคะแนนวงในให้ 5 คะแนน วงต่อ ๆ มาเป็น 4,3,2,1 ตามลำดับ แล้วฝึกเข้าลูกจากระยะ 6 เมตร 6,5,7,7.5 ไปเรื่อย ๆ จนถึง 11 เมตร ฝึกโยนทุกระยะ ระยะละ 40-50 ลูก แล้วจดบันทึกคะแนนแต่ละระยะไว้เพื่อเปรียบเทียบถึงความบกพร่อง ระยะใดที่มีความบกพร่องมากก็ให้ฝึกระยะนั้นมากขึ้น

วิธีที่ 2 ให้เขียนสี่เหลี่ยมมีลูกเป้าอยู่ในสี่เหลี่ยมในสุด ซึ่งมีรัศมี 20 ซม. จากนั้นให้ทำสี่เหลี่ยมซ้อนไปเรื่อย ๆ เส้นห่าง 5-10 ซม. กำหนดคะแนน 5,4,3,2,1 ตามลำดับ ในแต่ละเส้นล่างของสี่เหลี่ยมจะมีลูกบูลอยู่โดยวางแบบสลับฟันปลา กำหนดจุดในการฝึกเหมือนวิธีที่ 1 ระยะใดบกพร่องก็ให้ฝึกระยะนั้นมาก ๆ

วิธีที่ 3 การฝึกเข้าเหมือนแบบที่ 1 แต่เพิ่มลูกบูลดักไว้ ถ้าเข้าถูกลูกบูลที่วางไว้ถือว่าฟาวล์ตองติดลบคะแนน ฝึกให้ชำนาญ

วิธีการฝึกตีลูก
การ ตีลูก เป็นส่วนสำคัญของการเล่นเปตองอีกประการหนึ่ง เมื่อไม่สามารถเข้าลูกให้ชนะคู่ต่อสู้ได้ ต้องอาศัยการตีลูกเพื่อให้ลูกของคู่ต่อสู้ออกจากจุดที่ตั้งอยู่ ผู้เล่นที่ฝึกหัดใหม่มักเผชิญต่อความยากลำบากในการตีและบังคับลูก สาเหตุอาจมาจากข้อบกพร่องดังนี้
1. ผู้เล่นจับลูกไม่ถูกวิธี และขาดสมาธิ
2. ผู้เล่นอาจตีลูกช้า หรือเร็วเกินไป
3. การประสานงานของแรงตีลูกไม่ถูกจังหวะ
4. การวางตัว และวางเท้าผิดจากความถนัดของตนเอง
5. แขนงอ หรือแกว่งขณะตีลูก
6. ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
7. ขาดการฝึกซ้อมหรือเว้นระยะการฝึกซ้อมนานเกินไป
8. ลูกเปตอง (ลูกบูล) มีขนาดและน้ำหนักไม่สมดูลกัน
    แต่ถ้าผู้ฝึกพบว่าสาเหตุต่าง ๆ ของการตีเกิดขี้นเพราะสาเหตุใด หรือหลายสาเหตุ ให้แก้ไขดัดแปลงวิธีการฝึกทีละขั้นแต่ต้องจับ และวางลำตัว เท้าให้ถูกต้อง โดยอาศัยแรงจาก 3 แหล่งใหญ่ คือ
1. แรงตีที่เกิดจากการเหวี่ยงของแขน
2. แรงตีที่เกิดจากการดีดตวัดข้อมือและนิ้วมือ
3. แรงตีที่เกิดจากำลังขาทั้งสองข้าง โดยการย่อเข่าช่วยเล็กน้อย

วิธีการฝึกตีลูก
วิธีที่ 1 การตีลูกเลียด (ตีไลน์) เป็นการตีลูกลักษณะเกี่ยวกับการเข้าลูกระยะใกล้ แต่ใช้ความแรงมากกว่า และเหมาะสำหรับพื้นสนามเรียบเท่านั้นทิศทางของลูกที่ตีไปหาความแน่นอนไม่ได้ หากมีลูกของฝ่ายตรงข้ามหรือของตนขวางหน้า ก็ไม่สามารถตีลูกลักษณะนี้ได้
วิธีการฝึก
- หาจุดตกของลูก ซึ่งควรเป็นที่เรียบที่สุด
- จุดตกที่ดีไม่ควรห่างจากลูกที่จะตีเกิน 2 เมตร (ยิ่งจุดตกห่างลูกที่ตีมากมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้มาก)
- ก่อนที่จะตีลูกต้องมีสมาธิ และความเชื่อมั่นในตนเอง
- ฝึกการประสานงานของแรงที่ใช้ในการตี เช่น แขน มือ นิ้วมือ ข้อมือ และขาทั้งสองข้าง
- ฝึกอย่างสม่ำเสมอและจริงจริง
วิธีที่ 2 การตีลูกถึงตัว (ตีเจาะ) การตีลูกนี้เหมาะกับสภาพสนามทุกรูปแบบ และเป็นลูกที่นักกีฬาเปตองทั่วไปใช้กันมากที่สุด เนื่องจากการฝึกตีลูกนี้หากตีได้อย่างแม่นยำ ลูกที่ต่ำไปถูกลูกคู่ต่อสู้ เป็นจังหวะเดียวกับลูกตกถูกพื้นพอดี ลูกที่ตีมีโอกาสอยู่แทนที่ได้ด้วย การฝึกตีลูกนี้นักกีฬาไม่ต้องพะวงว่าจะมีลูกขวางหน้า
ท่าทางในการตีลูก
- ยืนในท่าที่ถนัดที่สุด แต่เท้าทั้งสองข้างต้องไม่เหยียบเส้น และอยูในวงกลม
- ตั้งลูกตามต้องการเพื่อฝึกตี
- เริ่มฝึกตีจากระยะใกล้ ๆ ก่อน จาก 3 เมตร 4 เมตร 5 เมตร ต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะ 12 เมตร แล้วจดสถิติไว้ทุกวัน ๆ เพื่อนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง
- ฝึกการประสานงานของแรงที่ใช้ในการตีลูกให้สัมพันธ์กันระหว่างการดีดตวัดข้อ มือ นิ้วมือ และขาทั้งสองข้าง ระบบการหายใจก็มีส่วนสำคัญ เกี่ยวกับกับการตีลูกมาก ควรจะได้มีการฝึกให้ประสานงานให้ดี
- ก่อนตีลูกจะต้องมีสมาธิ และความเชื่อมั่นในตัวเอง
- ฝึกอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง

อมูล เรียนภาษาฝรั่งเศสที่ตูร์ Institut de Touraine เรียนภาษาฝรั่งเศสที่ตูร์

อมูล เรียนภาษาฝรั่งเศสที่ตูร์ Institut de Touraine

เรียนภาษาฝรั่งเศสที่ตูร์
Institut de Touraine ได้เปิดทำการเรียนการสอนทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1912 ซึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีนักเรียนในสถาบันมากกว่า 200,000 คน โดยมีนักเรียนมากกว่า 80 ประเทศในแต่ละปี
สถาบันตั้งอยู่ในเมือง Tours ซึ่งเป็นเมืองที่ผสมผสานระหว่างประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจสมัยใหม่ มีประชากรประมาณ 270,000 คน และมีร้านค้ามากกว่า 7,500 ร้าน

เมือง Tours จะอยู่ไม่ไกลจากเมือง Paris มากนัก ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่สามารถเดินทางจาก Paris มายังเมืองแห่งนี้ได้ด้วยรถไฟ TGV ใช้เวลาเพียงแค่ 1 ชั่วโมง 57 นาทีเท่านั้น
ทำไมถึงเลือกเรียนที่ Institut de Touraine
  • ประสบการณ์การสอนภาษาฝรั่งเศสกว่าศตวรรษ >> Institut de Touraine ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1912 รับนักเรียนทั่วโลกมามากกว่า 250,000 คน จึงทำให้มั่นใจในเรื่องของวิธีการสอนที่มีคุณภาพในตลอดกว่า 100 ปีที่ผ่านมา
100years-institut
  • อาจารย์ผู้สอนทุกคน มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเรื่องการสอนภาษาฝรั่งเศส อีกทั้งทุก ๆ หลักสูตรของ Institut de Touraine ยังแบ่งระดับตามกรอบมาตรฐานของยุโรปคือ Common European Framework of Referench

  • สถาบันได้รับการรับรองจากทั่วโลก โดยเฉพาะได้รับรองจากทางกระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงอุดมศึกษาในตราคุณภาพ “Qualité Français langue étrangère” มาตั้งแต่ปีค.ศ. 2007 นอกจากนี้ยังได้รับรองจากหลากหลายแห่งด้วยกัน
cer
  • หลักสูตรภาษาฝรั่งเศสมีความยืดหยุ่น >> นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ 1 สัปดาห์ – 1 ปี และในระดับภาษาที่เหมาะสม

  • ทางสถาบันจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการเรียนและการใช้ชีวิตในประเทศ ฝรั่งเศส ทางสถาบันจะจัดอาจารย์ที่คอยช่วยเหลือนักเรียนไว้ทั้งในด้านการเรียนการ ฝึกฝนภาษาฝรั่งเศส รวมถึงการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ

  • สถาบันเป็นศูนย์สอบภาษาฝรั่งเศสที่ได้รับการรับรอง อาทิเช่น Diplomas in French Language Studies (DELF), Diplomas in Advanced French Language Studies (DALF) และ French Knowledge Test (TCF)
DELF
  • สถาบันมีนักเรียนจากหลากหลายประเทศด้วยกัน ทุก ๆ ปี นักเรียนกว่า 80 สัญชาติจะเข้ามาเรียนภาษาฝรั่งเศสกับเรา ซึ่งนอกจากการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสแล้ว พวกเรายังได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันอีกด้วย

  • หลักสูตรที่ให้มากกว่าความรู้ภาษาฝรั่งเศส >> การเรียนใน Institut de Touraine นอกจากในเรื่องของการเรียนภาษาฝรั่งเศสที่เข้มข้นแล้ว ทางสถาบันยังจัดกิจกรรมการกีฬา และวัฒนธรรมไว้อย่างมากมาย อาทิเช่น กิจกรรมทัศนศึกษา, กิจกรรมการทำอาหาร, ชิมไวน์, คลับภาพยนต์ และกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ
stage-gastronomique-cfa-tours
  • เรียนท่ามกลางเมืองแห่งมหาวิทยาลัย >> ตูร์ ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีนักเรียนนักศึกษามากกว่า 30,000 คน ซึ่งใจกลางเมืองมีบาร์, ร้านอาหาร, โรงภาพยนต์, ลานคอนเสิร์ต ต่าง ๆ มากมาย และย่านเมืองเก่า ศูนย์กลางที่อยู่อาศัยของนักเรียน ซึ่งทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ห่างจากโรงเรียนเพียงแค่ 200 เมตรเท่านั้น
408255_10151616868010699_197662956_n
  • ตูร์เมืองใกล้ปารีส ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 1 ชั่วโมงจากปารีสในการเดินทาง นักเรียนสามารถที่จะเดินทางไปเที่ยวในช่วงวันหยุดได้อย่างง่ายดาย

  • คุณภาพชีวติที่ดี ด้วยเมืองตูร์ค่อนข้างมีชื่อเสียงในเรื่องของภูมิอากาศที่อบอุ่น, ทัศนียภาพที่สวยงาม รวมถึงปราสาทที่น่าหลงไหล ตูรองเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยอาหารและไวน์ รวมถึง Val de Loire ยังเป็นที่ที่รับรองในฐานะมรดกของโลกโดย UNESCO อีกด้วย

เรียนภาษาฝรั่งเศสที่ตูร์
วิธีการสอนของสถาบัน
  1. การเรียนการสอนของสถาบันอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ Tours University
  2. วิธีการสอนของสถาบัน : ทางสถาบันมีประสบการณ์การเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสสำหรับนักเรียนต่างชาติมา ยาวนาน และด้วยโครงสร้างของหลักสูตรรวมถึงวิธีการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการพัฒนา ทักษะภาษาของนักเรียนไม่ว่าจะระดับใด ๆ ก็ตาม
  3. การจัดกลุ่มที่มีความเหมาะสม : ในทุก ๆหลักสูตรของสถาบัน นักเรียนจะต้องทำ Placement Test ในวันแรกของการเรียนต่อ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการแบ่งนักเรียนให้ตรงตามกับระดับความรู้ทางภาษาของนัก เรียนคนนั้น ๆ

อาจารย์ผู้สอน
ทางสถาบันมีอาจารย์ผู้สอนภาษาฝรั่งเศสเต็มเวลา ทั้งหมด 20 คน ซึ่งจะทำให้จำนวนอาจารย์ต่อนักเรียนมีความเหมาะสมกับการเรียน และมีคุณภาพในการเรียนของแต่ละ class

สิ่งอำนวยความสะดวก
Institut de Touraine มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ต่อนักเรียนมากมายดังนี้
  1. ห้องสมุด
  2. ห้องสมุดมัลติมีเดีย
  3. การอบรมการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์
  4. ห้องปฎิบัติการทางด้านภาษา
  5. อินเตอร์เน็ต
  6. ห้องสำหรับดูวิดีโอ
  7. ห้องนั่งเล่น สำหรับให้นักเรียนพักเบรกจากการเรียนการสอน

การรับรอง
สถาบันได้รับการรับรอง FLE “French as Foreign Language Quality” จาก French Education and Foreign Affairs ministries ซึ่งจะวัดคุณภาพของการเรียนการสอน, หลักสูตร, ที่พัก, กิจกรรมอื่น ๆ, อาจารย์ และสิ่งอำนวยความสะดวก

หลักสูตร
หลักสูตรภาษาของทางสถาบันจะเป็นไปตามระบบของ Common European Framework of Reference for Language โดยแบ่งออกเป็น 6 ทักษะ A1, A2, B1, C1, C2 โดยระดับ A1 เป็นระดับเริ่มต้น (Beginner Level) และในระดับ C2 เป็นระดับสูง (Most Advanced Degree of Proficiency)
การเรียนการสอนจะเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
Three-month course
หลักสูตร Intensive Language จะเปิดทั้งหมด 3 ควอเตอร์ด้วยกัน โดยนอกจากจะมีการเรียนภาษาฝรั่งเศสแล้ว ยังมีวิชาเลือกอาทิเช่น วัฒนธรรมศึกษา, วรรณกรรม, ศิลปประวัติศาสตร์, ภาษาฝรั่งเศสเฉพาะด้าน โดยวิชาเลือกเหล่านี้จะให้สำหรับเด็กนักเรียนที่อยู่ในระดับ intermediate ขึ้นไป
  • นักเรียนสามารถสมัครเรียนได้ตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือนขึ้นไป
  • จำนวนนักเรียนต่อ class เฉลี่ยประมาณ 15 คน
  • จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ : 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
วันเริ่มเรียน
  • Monday 29 September – Friday 19 December 2014
  • Monday 5 January – Friday 26 March 2015
  • Monday 30 March – Friday 19 June 2015
  • Monday 28 September – Friday 18 December 2015
One-month course
  • หลักสูตรภาษาฝรั่งเศสเข้มข้นซึ่งจะเปิดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน โดยจะเปิดทุก ๆ เดือน
  • จำนวนนักเรียนต่อ class เฉลี่ยประมาณ 15 คน
  • จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ : 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
วันเริ่มเรียน
  • 29 September – 24 October 2014
  • 27 October – 21 November 2014
  • 24 November – 19 December 2014
  • 5 January – 30 January 2015
  • 2 February – 27 February 2015
  • 2 March – 26 March 2015
  • 30 March – 24 April 2015
  • 27 April – 22 May 2015
  • 25 May – 19 June 2015
  • 29 June – 24 July 2015
  • 27 July – 21 August 2015
  • 24 August – 18 September 2015
  • 28 September – 23 October 2015
  • 26 October – 20 November 2015
  • 23 November – 18 December 2015
Express Course
  • ระยะเวลาเรียน 2-4 สัปดาห์
  • ประเภทหลักสูตร
    • 15-hour Express Course (คลาสจะมีเฉพาะช่วงเช้า)
    • 20-hour Express Course (คลาสเช้า + 5 ชั่วโมงสำหรับ conversation classes ในช่วงบ่าย)
    • 25-hour Express Course (จะเปิดแค่ช่วง 26 พ.ค. ถึง 12 ก.ย. หลักสูตรจะเป็นหลักสูตร 20 ชั่วโมง และเพิ่มทักษะการเขียนและไวยากรณ์อีก 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์l)
  • วันเริ่มเรียน สามารถเริ่มเรียนได้ทุก ๆ สัปดาห์ ยกเว้นผู้เรียนอยู่ในระดับ Complete Beginner
ที่พัก
  • Host Family มีบริการอาหารเช้าและอาหารเย็นในช่วงวันจันทร์ – ศุกร์ และอาหาร 3 มื้อในวันเสาร์และอาทิตย์ มีให้เลือก 3 แบบ ดังนี้
    • ห้องนอนเดี่ยวมีห้องน้ำในตัว
    • ห้องนอนเดี่ยว + ห้องน้ำแชร์
    • ห้องนอนแชร์ 2 คน สำหรับผู้เรียนที่ลงทะเบียนพร้อมกัน 2 คน
  • Hameau Saint Michel หอพักนักเรียนที่มีบริการอาหารเช้าและเย็น สามารถเดินไปโรงเรียนเพียงแค่ 2 นาทีเท่านั้น
  • Private Residence
  • Furnished Flat
  • Hotel

10 โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต

10 โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต


โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต
จัด อันดับติวเตอร์ ว่าที่ไหนฮิต ฮอตมากที่สุด สำรวจความนิยมของเด็กขาสั้น กระโปรงบานย่านสยามสแควร์ ศูนย์รวมโรงเรียนกวดวิชาใหญ่ที่สุดของเมืองไทยที่มีกว่า 80 แห่งว่า พวกเขาและเธอคิดว่าที่ไหนสุดยอดที่สุด เพราะไม่ว่าจะปิดเทอมหรือเปิดเทอม เราก็ต้องเรียนพิเศษอยู่ดี แหม่!! งานนี้ เด็กใครสถาบันไหน ไปดูกันเลยจ้า กับ?10 โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต โรงเรียนกวดวิชาที่มีนักเรียนเรียนเยอะที่สุด?
10 โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต?วิชาเคมี : โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ ครูอุ๊
หากจะ ติววิชาเคมี ถ้าไม่ติวกับ ครูอุ๊ – อุไรวรรณ ศิวะกุล โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ ไม่รู้จะไปติวกับใครแล้ว วันแรกของการเปิดให้จองคอร์สสอนสด บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองมายืนรอหน้าโรงเรียนก่อนเวลาทำการเปิด ถ้าลงทะเบียนไม่ทัน หลายคนต้องยอมให้ลูกหลานเรียนผ่านวิดีโอ น้องๆ บอกในทิศทางเดียวกันว่า ครูอุ๊ มีเคล็ดลับการสอนเคมีที่ยากให้เข้าใจง่ายๆ พร้อมกับสอดแทรกลูกเล่น เรียนแล้วไม่รู้สึกเบื่อ แถมมีกิจกรรมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม และทีเด็ดสุดๆ คอร์สติวเข้มเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต4teen.mthai.com
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต?วิชาฟิสิกส์ : นีโอฟิสิกส์
ฟิสิกส์มีมากมายหลายแห่งให้เลือก แต่มีเพียง 2 สถาบันที่ขับเคี่ยวและอยู่ในดวงใจของน้องๆ นั่นคือ นีโอ ฟิสิกส์ กับ แอพพลายด์ฟิสิกส์ แต่แรงสุดในยุคนี้ต้อง อ.พิสิฎฐ์ วัฒนผดุงศักดิ์ แห่งนีโอ ฟิสิกส์ ซึ่งสั่งสมชื่อเสียงมายาวนาน แม้ว่าอาจารย์จะแก่วิชาการไปบ้าง ไม่ค่อยมีลูกเล่นมากนักเหมือนติวเตอร์ยุคใหม่ ทว่าเมื่อน้องๆ ได้เรียนและสัมผัสจะชื่นชอบตรงที่อาจารย์ได้ปูพื้นฐานฟิสิกส์จากยากให้เป็น ง่าย ทำให้ผลการเรียนดีขึ้นและมีแนวโน้มสอบเข้ามหาวิทยาลัย Top 5 ของประเทศได้
โรงเรียนกวดวิชาแอพพลายด์ฟิสิกส์
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต?วิชาฟิสิกส์ : โรงเรียนกวดวิชาแอพพลายด์ฟิสิกส์
ส่วน สถาบันกวดวิชาแอพพลายด์ฟิสิกส์ ถึงแม้ว่า น.พ. ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ เจ้าของสถาบันได้ตกเป็นข่าวคึกโครมว่ามีปัญหาด้านประสาท จนคาดกันว่าติวเตอร์หน้าใหม่จะแซงหน้า แต่ที่ไหนได้ น้องๆ ยังให้ความไว้วางใจ เพราะเนื้อหาหลักสูตรและคอร์สติวเข้ม รวมถึงลีลาการสอนของคุณหมอยังตอบสนองความต้องการของเด็กสายวิทย์ จนน้องๆ เอ่ยว่า ถึงจะเรียนผ่านเทปก็ยินดีควักกระเป๋าเข้านั่งเรียน
10 โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต
10 โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต?วิชาวิทย์-คณิตฯ?: เดอะเบรน
ภาพที่เห็นน้องๆ ต่อคิวยาวเหยียดที่หน้าสถาบันกวดวิชาเดอะเบรน ( ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น We?by the brain ) เพื่อ เรียน?วิชาวิทย์-คณิตฯ เป็นภาพที่ชินตาไปแล้ว โดยน้องๆ ให้เหตุผลในการเลือกเรียนที่นี่สั้นๆ ว่า ทีม?ติวเตอร์สายวิทย์ ดูจากประวัติการศึกษา ดีกรีแต่ละท่านระดับปรมาจารย์ สไตล์การเรียนเน้นไม่เครียด เน้นเทคนิคการ จำและตีโจทย์แบบฮาๆ?ถึงแม้จะฮาแต่เต็มเปี่ยมไปด้วยนะจ๊ะ ความรู้ น้องๆ ที่มาติวที่นี่หวังผลทำเกรดสูงๆ ระหว่างที่เรียนมัธยมปลาย เพราะเกรดนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดย?We?by the brain นี้เปิดสอนมาแล้วกว่า 25 ปี มีสาขาถึง 31 สาขา ทำให้สามารถ?พิสูจน์ได้ดีถึงคุณภาพการสอนที่ทำให้น้องบอกกันปากต่อปาก?ว่าเรียนที่นี่แล้วเอ็นท์ติด ?ได้คณะตามที่ต้องการเลยล่ะ
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต?ชีวะวิทยา : โรงเรียนกวดวิชายูเรก้า
โรงเรียน กวดวิชายูเรก้า เชื่อว่า ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในบทเรียนที่ได้รับ จะทำให้นักเรียนสนุกกับ?การเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืน นอกเหนือจากความบันเทิงอย่างตื้นๆ ที่พบเห็นกันทั่วไป โรงเรียนกวดวิชายูเรก้า เชื่อว่า การเรียนรู้ของนักเรียนควรต้องใช้ทั้งสมองซีกซ้าย (วิทยาศาสตร์) และ สมองซีกขวา (ศิลปศาสตร์) อย่างสมดุล และถึงแม้ โรงเรียนกวดวิชายูเรก้า จะเน้นการเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ แต่ก็ได้พยายามสอดแทรกเรื่องราวของศิลปะในการจัดการศึกษา ร่วมด้วย
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต?ภาษาอังกฤษ : สถาบันเอ็นคอนเซ็ปต์ ครูพี่แนน
ครูพี่แนน-อริสรา ธนาปกิจ แห่งสถาบันเอ็นคอนเซ็ปต์ ยังครองใจ เพราะลีลาการสอนที่ต่างจากสถาบันแห่งอื่น เน้นจุดขายด้านเอนเตอร์เทนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว นั่นคือ เพลงภาษาอังกฤษ ซึ่งแต่งขึ้นมาเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในสื่อการ เรียนภาษาอังกฤษ แล้วแต่ละเพลงผู้เรียนจะได้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ สำเนียงอังกฤษที่ถูกต้อง และรู้ความหมายของคำหรือประโยคนั้น นอกจากนี้ครูพี่แนน ยังคิดแผนภาพต้นไม้ แผนภูมิ เกี่ยวกับโครงสร้างภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักเรียน จดจำง่ายๆ ซึ่งเป็นประโยชน์มากเวลาทำข้อสอบ
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต?ภาษาอังกฤษ : โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษครูสมศรี
ส่วน ครูสมศรี ธรรมสารโสภณ เจ้าของโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษครูสมศรี กำลังมาแรง ซึ่งสไตล์ การสอนเน้นเอนเตอร์เทน ซึ่งสอดแทรกคำศัพท์ที่เราจะเจอในชีวิตประจำวันและในชั้นเรียน พร้อมกับสร้าง บรรยากาศภายในห้องเรียนให้เหมือนบ้านที่อบอุ่น น้องๆ หลายคนบอกคล้ายๆ กันว่า เรียนกับ ครูสมศรี นอกจากได้คำศัพท์ ศัพท์แสลงที่เจ้าของภาษา ใช้พูดกันแล้ว ครูสมศรียังมีแนวข้อสอบและเทคนิคในการสอบภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งเมื่อเรียนแล้วนำมาใช้ที่ โรงเรียนยอมรับว่าได้ผล เพราะผลการเรียนดีขึ้นจากเคยได้เกรด 2 ขยับขึ้นเป็นเกรด 3 และเกรด 4 เมื่อเกรด ดีขึ้นรู้สึกว่า อังกฤษ ไม่ได้ยากอย่างที่เคยกลัว
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต?วิทย์-คณิต : GSC อาจารย์สมาน แก้วไวยุทธ
อีกท่านหนึ่งที่ได้รับการขานรับอย่างดีโดยเฉพาะนักเรียนจากโรงเรียนยอดนิยม นั่นคือ อาจารย์สมาน แก้วไวยุทธ แห่งศูนย์วิทยาการวิทย์-คณิต GSC อดีตอาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ส่วนเคล็ดลับ การสอนของอาจารย์สมาน ถูกอกถูกใจ โดยจะเน้นการสอนแบบไลฟ์สไตล์ ด้วยการนำเรื่องใกล้ตัว เช่น นำข่าวประจำวันมาประยุกต์เข้ากับเนื้อหาที่กำลังเรียน นอกจากนี้ ยังสรุปเนื้อหาสำคัญๆ หรือทำเป็นแผนภูมิได้อย่างกระชับ เทคนิคการสอนเหล่านี้ ทำให้เข้าใจง่ายและจำได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้อาจารย์ยังมีตัวอย่างข้อสอบมากมายมาให้นักเรียนฝึกฝน
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต?คณิตศาสตร์ : SUP K?
ยุคนี้ถ้าไปถามวัยเรียนว่าจะติวคณิตศาสตร์ที่ไหน ทุกคนต้องชี้ไปที่ Sup-K อ.ศุภฤกษ์ สกุลชัยพรเลิศ เนื่องด้วยอาจารย์สอนสนุก เรียนแล้วไม่รู้สึกเครียดหรือรู้สึกว่าคณิตเป็นวิชาหิน เวลาจะสอนเรื่องใดจะมีสื่ออุปกรณ์มาพร้อม นั่นหมายความว่า อาจารย์เอาใจใส่ที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ อีกทั้งอาจารย์จะมีสูตรหรือกลยุทธ์ ในการคิดคำตอบหลากหลายวิธี แต่ผลลัพธ์เหมือนกัน แล้วเริ่มสอนจากง่ายไปหายาก เพื่อไม่ให้รู้สึกว่า คณิตศาสตร์น่าเบื่อแต่เป็นวิชาที่น่าค้นหา
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต?ภาษาไทย : ครูปิง- ครูลิลลี่
ติวเตอร์ภาษาไทย ในดวงใจนักเรียน คงหนีไม่พ้น ครูปิง เจริญ ศิริวัฒน สถาบันกวดวิชา Da?vance กับ ครูลิลลี่ กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ โดย 2 ติวเตอร์ไฟแรง มีสไตล์การสอนคล้ายๆ กัน เน้นการสอน สบายง่ายๆ ยิงมุขตลกตลอดคาบเรียนให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม มีเคล็ดลับในการทำข้อสอบ ที่โดนใจนักเรียนสุดๆ นั่นคือ มีคลังข้อสอบภาษาไทย ซึ่งตรงหรือใกล้เคียงกับข้อสอบที่ใช้ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย นี่เป็นผลสำรวจที่ได้จากคำตอบของน้องๆ ที่มีประสบการณ์จากการติวกับครู และสถาบันกวดวิชานี่ค่ะ
โรงเรียนกวดวิชายอดฮิต6teen.mthai.com

วิธีการเขียนโครงงาน


ขั้นตอนในการเขียนโครงการ
            1. ชื่อแผนงาน
            2. ชื่อโครงการ
            3. หลักการและเหตุผล
            4. วัตถุประสงค์
            5. เป้าหมาย
            6. วิธีดำเนินการ
            7. ระยะเวลาดำเนินการ
            8. งบประมาณ
            9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
          10. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
          11. การประเมินผล
          12. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การวางแผนและการเขียนโครงการ
            ความหมายของการวางแผน มีผู้ให้คำจำกัดความของการวางแผนไว้หลายลักษณะ เช่น
            การวางแผน คือ การมองอนาคต การเล็งเห็นจุดดหมายที่ต้องการ การคาดปัญหาเหล่านั้นไว้ล่วงหน้าไว้อย่างถูกต้อง ตลอดจนการหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น
            การวางแผน เป็นการใช้ความคิดมองจินตนาการตระเตรียมวิธีการต่างๆ เพื่อคัดเลือกทางที่ดีที่สุดทางหนึ่ง กำหนดเป้าหมายและวางหมายกำหนดการกระทำนั้น เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
            การวางแผน เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับการกำหนดสิ่งที่จะกระทำในอนาคต การประเมินผลของสิ่งที่กำหนดว่าจะกระทำและกำหนดวิธีการที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติ
           ถ้าจะกล่าวโดยสรุป การวางแผนก็คือการคิดการหรือกะการไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำไม
ทำที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และไครทำ
            การวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ
            - อนาคต
            - การตัดสินใจ
            - การปฏิบัติ
            ความสำคัญของการวางแผน            ถ้าจะเปรียบเทียบระบบการศึกษากับคน การวางแผนก็เปรียบเสมือนสมองของคน ซึ่งถ้ามองในลักษณะนี้แล้ว การวางแผนก็มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว เพราะถ้าสมองไม่ทำงานส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น แขน ขา ก็จะทำอะไรไม่ได้ หรือถ้าคนทำงานไม่ใช้สมอง คือทำงานแบบไม่มีหัวคิดก็ลองนึกภาพดูก็แล้วกันว่าจะเป็นอย่างไร คนทุกคนต้องใช้สมองจึงจะทำงานได้ ระบบการศึกษาหรือการจัดการศึกษาก็่เช่นเดียวกัน ต้องมีการวางแผน คือ อย่างน้อยต้องมีความคิด การเตรียมการว่าจะจัดการศึกษาเพื่ออะไร เพื่อใคร อย่างไร
           การวางแผนมีประโยชน์ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น
           1. การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์ เพราะได้มีการศึกษาสภาพเดิมในปัจจุบันแล้ว กำหนดสภาพใหม่ในอนาคต ซึ่งได้แก่การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย แล้วหาลู่ทางที่จะทำให้สำเร็จตามที่มุ่งหวัง นักวางแผนมีหน้าที่จัดทำรายละเอียดของงานจัดลำดับความสำคัญพร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่ควรจะเป็นต่างๆ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจพิจารณา
            2. การวางแผนเป็นศูนย์กลางประสานงานเช่น ในการจัดการศึกษาเราสามารถใช้การวางแผนเพื่อประสานงานการศึกษาทุกระดับและทุกสาขาให้สอดคล้องกันได้

            3. การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปโดยประหยัดมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะการวางแผนเป็นการคิดและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและเสนอทางเลือกที่จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด

            4. การวางแผนเป็นเครื่องมือในการควบคุมงานของนักบริหารเพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่ต้องการ
            ประเภทของแผน
            เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้น่าจะพูดถึงประเภทของแผนเสียเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจลักษณะของแผนแต่ละอย่าง ถ้าจะมองในแง่ของระยะเวลาอาจจะแบ่งแผนออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ
            1. แผนพัฒนาระยะยาว (10 - 20 ปี) กำหนดเค้าโครงกว้างๆ ว่าประเทศชาติของเราจะมีทิศทางพัฒนาไปอย่างไร ถ้าจะดึงเอารัฐธรรมนูญ และ/หรือแผนการศึกษาแห่งชาติมาเป็นแผนประเภทนี้ก็พอถูไถไปได้แต่ความจริงแผนพัฒนาระยะยาวของเราไม่มี
            2. แผนพัฒนาระยะกลาง (4 - 6 ปี) แบ่งช่วงของการพัฒนาออกเป็น 4 ปี หรือ 5 ปี หรือ 6 ปี โดยคาดคะเนว่าในช่วง 4 - 6 ปี นี้ จะทำอะไรกันบ้าง จะมีโครงการพัฒนาอะไร จะงบประมาณใช้ทรัพยากรมากน้อยเพียงไร แผนดังกล่าวได้แก่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั่นเองในส่วนของการศึกษาก็มีแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ(ไม่ใช่แผนการศึกษาแห่งชาติ)ในเรื่องของการเกษตรก็มีแผนพัฒนาเกษตร เป็นต้น
            3. แผนพัฒนาประจำปี (1 ปี) ความจริงในการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลาง เช่น แผนพัฒนาการศึกษาได้มีการหนดรายละเอียดไว้เป็นรายปีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลางได้จัดทำไว้ล่วงหน้า ข้อมูลหรือความต้องการที่เขียนไว้อาจไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน จึงต้องจัดทำแผนพัฒนาประจำปีขึ้น นอกจากนั้น วิธีการงบประมาณของเราไม่ใช้แผนพัฒนาระยะกลางขอตั้งงบประมาณประจำปี เพราะมีรายละเอียดน้อยไป แต่จะต้องใช้แผนพัฒนาประจำปี เป็นแผนขอเงิน
            4. แผนปฏิบัติการประจำปี
(1 ปี) ในการขอตั้งงบประมาณตามแผนพัฒนาประจำปีในข้อ 3 ปกติมักไม่ได้ตามที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆขอไป สำนักงบประมาณหรือคณะกรรมาธิการของรัฐสภามักจะตัดยอดเงินงบประมาณที่ส่วนราชการต่างๆขอไปตามความเหมาะสมและจำเป็นและสภาวการณ์การเงินงบประมาณของประเทศที่จะพึงมีภายหลังทีส่วนราชการต่างๆ ได้รับงบประมาณจริงๆแล้ว จำเป็นที่จะต้องปรับแผนพัฒนาประจำปีที่จัดทำขึ้นเพื่อขอเงินให้สอดคล้องกับเงินที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งเรียกว่าแผนปฏิบัติการประจำปีขึ้น
            ความหมายของโครงการ
             พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำโครงการว่า หมายถึง"แผนหรือเค้าโครงการตามที่กะกำหนดไว้"โครงการเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนาซึ่งช่วยให้เห็นภาพ และทิศทางการพัฒนา ขอบเขตของการที่สามารถติดตามและประเมินผลได้
            โครงการเกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้บรรจุวัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาหรือลดหรือขจัดปัญหา และความต้องการทั้งในสภาวการณ์ปัจจุบันและอนาคต โครงการโดยทั้วไป สามารถแยกได้หลายประเภท เช่น โครงการเพื่อสนองความต้องการ โครงการ
พัฒนาทั่วๆไป โครงการตามนโยบายเร่งด่วน เป็นต้น
            องค์ประกอบของโครงการ  องค์ประกอบพื้นฐานในโครงการแต่ละโครงการนั้นควรจะมีดังนี้
            1.ชื่อแผนงาน
เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้
            2.ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจนและเรียกเหมือนเดิมทุกครั้งจนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ
            3.หลักการและเหตุผล ใช้ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจนชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการและหากเป็นโครงการที่จะดำเนินการตามนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนจังหวัดหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผนอื่น ๆ ก็ควรชี้แจงด้วย ทั้งนี้ผู้เขียนโครงการ
            บางท่านอาจจะเพิ่มเติมข้อความว่าถ้าไม่ทำโครงการดังกล่าวผลเสียหายโดยตรง หรือผลเสียหายในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการได้เห็นประโยชน์ของโครงการกว้างขวางขึ้น
            4.วัตถุประสงค์
เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้ ในระยะหลัง ๆ นี้นักเขียนโครงการที่มีผู้นิยมชมชอบมักจะเขียนวัตถุประสงค์เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือเขียนให้เป็นรูปธรรมมากกว่าเขียนเป็นนามธรรม  การทำโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อได้ แต่ทั้งนี้การเขียนวัตถุประสงค์ไว้มาก ๆ อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติมองไม่ชัดเจน และอาจจะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมเขียนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน-ปฏิบัติได้-วัดได้เพียง 1-3 ข้อ
            5.เป้าหมาย ให้ระบุว่าจะดำเนินการสิ่งใด โดยพยายามแสดงให้ปรากฏเป็นรูปตัวเลขหรือจำนวนที่จะทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด การระบุเป้าหมาย ระบุเป็นประเภทลักษณะและปริมาณ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความสามารถในการทำงานของผู้รับผิดชอบโครงการ
            6.วิธีดำเนินการหรือกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
คืองานหรือภารกิจซึ่งจะต้องปฏิบัติในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการจะรวบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้วนำมาจัดลำดับว่าควรจะทำสิ่งใดก่อน-หลัง หรือพร้อม ๆ กัน แล้วเขียนไว้ตามลำดับ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์
            7.ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการปัจจุบันนิยมระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น การระบุจำนวน ความยาวของโครงการเช่น 6 เดือน 2 ปี โดยไม่ระบุเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์
            8.งบประมาณ
เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน งบประมาณอาจแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
            - เงินงบประมาณแผ่นดิน
            - เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
            - เงินนอกงบประมาณอื่น ๆ เช่น เงินเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น
            การระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย นอกจากนี้หัวข้อนี้สามารถระบุทรัพยากรอื่นที่ต้องการ เช่น คน วัสดุ ฯลฯ
            9. เจ้าของโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของหรือรับผิดชอบโครงการ โครงการย่อย ๆ บางโครงการระบุเป็นชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบเป็นรายโครงการได้
            10.หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
เป็นการให้แนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดำเนินการโครงการนั้น ควรจะประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานใดบ้าง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
            11.การประเมินผล
บอกแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไรในระยะเวลาใดและใช้วิธีการอย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งผลของการประเมินสามารถนำมาพิจารณาประกอบการดำเนินการ เตรียมโครงการที่คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องในเวลาต่อไป
            12.ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้างใครเป็นผู้ได้รับเรื่องนี้สามารถเขียนทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ในด้านผลกระทบของโครงการด้วยได้
            ลักษณะโครงการที่ดี 
โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้
            1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้
            2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจำเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้คือ
        - โครงการอะไร = ชื่อโครงการ
        - ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล
        - ทำเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์
        - ปริมาณที่จะทำเท่าไร = เป้าหมาย
        - ทำอย่างไร = วิธีดำเนินการ
        - จะทำเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดำเนินการ
        - ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มา
        - ใครทำ = ผู้รับผิดชอบโครงการ
        - ต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
        - บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = การประเมินผล
        - เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
            3. รายละเอียดของโครงการดังกล่าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีดำเนินการต้องเป็นทางที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ฯลฯ เป็นต้น

            4. โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้
        - สนองตอบ สนับสนุนต่อนโยบายระดับจังหวัดหรือนโยบายส่วนรวมของประเทศ
        - ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเฉพาะส่วนและการพัฒนาโดยส่วนรวมของประเทศ
        - แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดตรงประเด็น

            5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจ และสามารถดำเนินการตามโครงการได้

            6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้และสามารถติดตามและประเมินผลได้

รูปแบบการเขียนโครงการ
ชื่อแผนงาน..................................................................................................................
ชื่อโครงการ..................................................................................................................
หลักการและเหตุผล
..................................................................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................................................................................................................
วัตถุประสงค์
.................................................................................................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................................................................................................................
เป้าหมาย
................................................................................................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................................................................
วิธีดำเนินการ
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
ระยะเวลาดำเนินการ
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
งบประมาณ
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................................................................................. 
ผู้รับผิดชอบโครงการ
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................................................................................. 
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
การประเมินผล
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................................................................................
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................................................................................

วิธีการเรียนให้เข้าใจ


 อ่านหนังสือก่อนเข้าเรียน

          ทำความเข้าใจกับเนื้อหาคร่าวๆ อาจเลคเชอร์ในส่วนที่ยังไม่เข้าใจไว้ แล้วตั้งใจฟังเมื่ออาจารย์สอน จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาเร็วขึ้น การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเรียน จะเรียนรู้ได้ดีกว่านั่งฟังอาจารย์อย่างเดียว

 เข้าเรียนทุกวิชาและตั้งใจเรียนให้เต็มที่

          เพราะจะจับทิศทางได้ว่า สิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญที่อาจารย์เน้นย้ำ และจดเลคเชอร์ตามด้วยภาษาตัวเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์เมื่อต้องกลับไปทบทวน

 เก็บรายละเอียดเนื้อหาที่อาจารย์สอน

          หากไม่เข้าใจประเด็นไหนควรถามให้เข้าใจ อย่าปล่อยให้ผ่านไป เพราะจะเป็นการสะสมและอาจเกี่ยวโยงกับเนื้อหาส่วนอื่นๆ

 อย่าท่องอย่างเดียว

          แต่ควรทำความเข้าใจกับวิชาที่เรียน ทบทวนครั้งแรกโดยอ่านเนื้อหาทั้งหมด ต่อมาอ่านแบบจัดระบบอีกครั้ง เลคเชอร์เป็นแผนผัง เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการทบทวน

 ฝึกทำโจทย์สม่ำเสมอ

          ในวิชาคำนวณอย่างคณิตศาสตร์ หรือฟิสิกส์ โดยศึกษาสูตร นิยาม คำจำกัดความต่างๆ ให้เข้าใจ แล้วหมั่นทำแบบฝึกหัด จะช่วยให้เห็นความหลากหลายของโจทย์ และกระตุ้นวิธีคิดคำตอบ ช่วยเพิ่มทักษะการคำนวณได้ดี

10 เทคนิคเรียน ให้เป็นคนเรียนเก่ง

10 เทคนิคเรียน ให้เป็นคนเรียนเก่ง


เพื่อนๆ หลายคนคงเคยเจอกับปัญหา เรียนตก เรียนไม่เก่ง หัวไม่ดี กันมาทั้งนั้น แต่!เราจะมีวิธีแก้ไขมันยังไง ทำให้เราเป็นคนเรียนดี เรียนเก่งได้นั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย หากเพื่อนๆ มีความตั้งใจที่จะทำให้สำเร็จจริงๆ อย่าไปคิดว่าเราเป็นคนเรียนไม่ดี เรียนไม่เก่ง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราท้อ และล้มเลิกความตั้งใตในการเรียน หรือจะทำสิ่งต่างๆก็ตาม ให้จำไว้ว่าคนเรียนเก่งนั้น ใันต้องเริ่มจากตัวเรา ถ้าเราขยัน หมั่นอ่านหนังสือทุกวัน ซึ่งไม่จำเป็นเลยว่าจะต้องอ่านทีละเยอะๆ อ่านนานๆ แค่เรารู้จักแบ่งเวลา จัดตารางอ่านหนังสือ แค่นี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้วที่เราจะสามารถกลายเป็นคนเรียนเก่ง ^^ ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ลองมาดู 10 เทคนิคเรียน ให้เป็นคนเรียนเก่ง กับ teen.mthai กันคะ ^^

10 เทคนิคเรียน ให้เป็นคนเรียนเก่ง

10 เทคนิคเรียน ให้เป็นคนเรียนเก่ง

เทคนิคเรียน : 1. คนเรียนเก่ง แบ่งเวลาเป็น เคล็ดลับข้อแรก ถึงแม้ว่าเราจะชอบเล่นเกมส์ อ่านการ์ตูน เล่นกีฬา ดูหนัง ฟังเพลง ช้อปปิ้ง ฯลฯ ขอแค่เราแบ่งเวลาให้เป็น เวลาไหนเล่นก็เล่น เวลาไหนเรียนก็เรียน จะเล่นวันละกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่ขอเจียดเวลามาเรียนนอกเหนือจากในห้องเรียนสักวันละ 30 นาที ? 1 ชั่วโมงก็พอแล้ว (เสาร์-อาทิตย์ไม่ต้องก็ได้) ทำง่ายๆแต่ได้ผลชงัดนัก
เทคนิคเรียน : 2. คนเรียนเก่ง ทบทวนล่วงหน้า-หลังเรียน เข้าหัวไม่ต้องจำ เชื่อว่าข้อนี้ถูกใจคนขี้เกียจจำไม่น้อย (นายติวฟรีเองก็ด้วย หึหึ) เคล็ดลับง่ายๆ อ่านล่วงหน้าก่อนเข้าห้องเรียนสัก 10-15 นาที อ่านผ่านๆแค่หัวข้อก็พอว่าวันนี้เราจะเรียนอะไรบ้าง พอตกเย็น ก็อ่านทบทวนผ่านๆอีกรอบว่าวันนี้เราเรียนอะไรไป วันต่อวัน มันจะเข้าไปอยู่ในหัวเองไม่ต้องออกแรงจำให้เมื่อย แถมทำบ่อยๆมันจะประติดประต่อกันเองทั้งเทอม โอ้ สบายเลย
เทคนิคเรียน : 3. คนเรียนเก่ง ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง แม้หลายๆคนจะรู้อยู่ว่าดินพอกหางหมูไม่ดี แต่ก็เชื่อว่าทุกๆคนก็เคย หรือยังมีดินพอกหางหมูอยู่ทั้งนั้น นายติวฟรีเองเคยพอกนานถึงสองเดือนด้วยซ้ำ มันลำบากมากที่ต้องมาตามแก้ดินพอกหางหมู บางครั้งใช้เวลามากกว่าเดิม 3 เท่าบ้าง 4 เท่าบ้าง รู้งี้ทำซะเลยไม่ปล่อยให้พอกก็ดีหรอก T_T
10 เทคนิคเรียน ให้เป็นคนเรียนเก่ง
10 เทคนิคเรียน ให้เป็นคนเรียนเก่ง
เทคนิคเรียน : 4. คนเรียนเก่ง ไม่เรียนอัดก่อนสอบ ข้อนี้ตามสองข้อที่แล้วมาติดๆ ถ้าน้องปล่อยพอกไว้ตั้งแต่ต้นเทอม ยันปลายเทอม แล้วมาอัดอ่านทีเดียวก่อนสอบ มันจะไม่ทันเอา หลายเรื่อง หลายวิชา ถ้าใครเคยเรียนอัดก่อนสอบคงรู้ดี (นายติวฟรีก็เคยทำ) ว่า อ่านบทแรกก็ยังโออยู่ แต่พออ่านบทสอง ดั๊นลืมบทแรก พออ่านบทสาม ดั๊นลืมบทสอง ฯลฯ แบบนี้เรียกว่า ได้หน้าลืมหลัง มาดูตัวอย่างสดๆกันตรงนี้เลย นายติวฟรีถามว่า เคล็ดลับข้อแรกคืออะไร (ห้ามย้อนกลับไปอ่านนะ) เชื่อว่าตอบไม่ได้กันเกินครึ่ง อิอิ จริงๆแล้วมันมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนอยู่นะว่า สมองของคนเรา จะสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆได้ดีโดยค่อยๆจดค่อยๆจำสะสมไปเรื่อยๆ ถ้ามาพยามจดจำในระยะเวลาสั้นๆมันจะไม่เข้าหัว ขนาดไอน์สไตน์ฉลาดเป็นกรด ก็ยังจำเยอะๆในเวลาสั้นๆไม่ไหวเลย
เทคนิคเรียน : 5. คนเรียนเก่ง ลงมือทำโจทย์ แบบฝึกหัด การบ้าน น้องๆหลายคนมองข้ามการทำโจทย์และแบบฝึกหัดต่างๆไปโดยสิ้นเชิง แล้วกลับไปให้ความสำคัญกับการเรียนเนื้อหา หรือทฤษฎีต่างๆ หลายๆคนหนักข้อ แบบฝึกหัดข้อแรกที่ได้ทำคือในห้องสอบนั่นเอง แล้วมันจะทำได้ยังไง T_T พอออกมาจากห้องสอบก็น้ำตาตกในทำไม่เป็น นักฟุตบอลเก่งๆอย่างเมสซี่ เขามีความลับในความเก่งซ่อนอยู่ นั่นคือ เขาใช้เวลาเรียนทฤษฎีนิดเดียว เอาให้ได้ครบสักรอบสองรอบก็พอ แล้วใช้เวลาที่เหลือไปทุ่มเทให้กับการซ้อมในสนาม (ทำแบบฝีกหัด) อย่างหนักทุกวันๆ ถ้าอยากเรียนเก่งเหมือนเมสซี่เล่นบอลเก่ง เราก็ต้องขยันทำแบบฝึกหัดเยอะๆเข้าไว้ ^^
เทคนิคเรียน : 6. คนเรียนเก่ง ทำ mindmap เรียนรู้จากภาพใหญ่ไปภาพเล็ก มันจะง่ายกว่าเยอะมากถ้าเรามองความสัมพันธ์ของเนื้อหาทั้งหมดโดยรวม ว่ามันเกี่ยวข้องกับอะไร แล้วมีหัวข้ออะไรบ้าง แต่ละหัวข้อเกี่ยวข้องกันอย่างไร อย่างการทำ mindmap นั้นช่วยได้มากๆ ที่สำคัญทำง่ายด้วย ไม่ต้องคิดว่ามันเป็นเรื่องยาก แค่มีกระดาษกะปากกา ก็สามารถทำเองได้แล้ว
10 เทคนิคเรียน ให้เป็นคนเรียนเก่ง
10 เทคนิคเรียน ให้เป็นคนเรียนเก่ง
เทคนิคเรียน : 7. คนเรียนเก่ง ทำสรุป/ช้อตโน้ตด้วยตัวเอง การทำสรุปหรือช้อตโน้ตจะเป็นเสมือนการทบทวนและสรุปเนื้อหาด้วยตัวเอง น้องๆจะมีสรุปของเพื่อนที่เก่งๆก็ได้ แต่สำคัญคือ ให้ทำเวอร์ชันของตัวเองด้วย (เขียนสรุปจากสรุปของเพื่อนก็ได้นะ) แค่การทำก็เหมือนว่าได้ทบทวนไปแล้วรอบนึง ที่สำคัญคือ เมื่อตัวเองมาอ่านสรุปของตัวเองแล้วนั้น มันจะจำได้ชัดเจนมากกว่าการอ่านสรุปของคนอื่นมากๆ ยิ่งถ้าเขียนสรุปด้วยปากกาหลายสี วาดรุปน่ารักๆลงไป บางครั้งในห้องสอบ จำได้ด้วยแน่ะ ว่าตรงนี้เราสรุปด้วยปากกาสีอะไร วาดรูปอะไรลงไป
*จดเลคเชอร์วิชาเรียน แบบขั้นเทพ! 
เทคนิคเรียน : 8. คนเรียนเก่ง ติวเป็นกลุ่มกับเพื่อน ผลัดกันถาม ผลัดกันตอบ การอ่านคนเดียวบางครั้งเราก็มองข้ามเรื่องสำคัญบางเรื่องไป การจับกลุ่มกะเพื่อน ติว หรือผลัดกันถามตอบ ก่อนสอบ จะทำให้เราได้ในส่วนที่เรามองข้ามไป ถึงบางอ้อหลายจุด บางครั้งการจับกลุ่มถามตอบก่อนเข้าห้องสอบไม่กี่ชั่วโมงก็ทำให้เราจำอะไรดีๆ ได้มากกว่าที่คิดอีกนะ
เทคนิคเรียน : 9. มั่นใจในตัวเอง อย่าคิดว่าตัวเองไม่เก่งเรียนยังไงก็ไม่ได้ ข้อห้ามที่สำคัญมากๆ ห้ามคิดว่าตัวเองไม่เก่งแล้วไม่สามารถทำได้เด็ดขาด เด็กไม่เก่งก็มีวิธีเรียนดีของเด็กไม่เก่งเหมือนกัน ท้อได้แต่ห้ามยอมแพ้เด็ดขาด!
เทคนิคเรียน : 10. คนเรียนเก่ง ดูแลตัวเอง กินให้พอ นอนให้พอ หลายๆคนคิดว่า นี่คือเคล็ดลับตรงไหนเนี่ย แต่ที่จริงแล้ว มันเป็นสุดยอดเคล็ดลับ ที่ทำให้น้องเก่งจากภายใน ร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ กินอิ่มนอนหลับ จะส่งผลให้ สมองปลอดโปร่งตามไปด้วย พอสมองปลอดโปร่ง จะแล่นมาก จำอะไรได้ง่ายกว่า เร็วกว่า เยอะกว่า ไม่ลองไม่รู้นะเออ

สิ่งของที่ห้ามนําขึ้นเครื่องบิน

สิ่งของที่ห้ามนําขึ้นเครื่องบิน

สิ่งของที่ห้ามนําขึ้นเครื่องบิน มาดู สิ่งของที่ห้ามนําขึ้นเครื่องบิน กันค่ะ สำหรับคนที่ ขึ้นเครื่องบินครั้งแรก หรือยังไม่รู้ว่าในการขึ้นเครื่องบินนั้น ของที่ห้ามนําขึ้นเครื่องบิน นั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
หลัก เกณฑ์และวิธีการปฎิบัติเกี่ยวกับการนำสัมภาระติดตัวประเภทของเหลว เจล หรือสเปรย์ขึ้นเครื่องบินตามประกาศของกรมการขนส่งทางอากาศซึ่งสอดคล้องกับ แนวทางปฎิบัติของ ICAO ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มิ.ย.2550

1. ของ เหลว เจล หรือ สเปรย์ ตามประกาศของกรมการขนส่งทางอากาศ ได้แก่ น้ำ เครื่องดื่ม ครีม โลชั่น ออยส์ น้ำหอม สเปรย์ เจลใส่ผม เจลสำหรับอาบน้ำ โฟมชนิดต่างๆ ยาสีฟัน น้ำยากำจัดกลิ่นตัว และของอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

2. ของ เหลวซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฎิบัติตามประกาศฉบับนี้ ได้แก่ นมและอาหารสำหรับเด็ก ยา ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งได้ให้พนักงานที่จุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัยตรวจสอบแล้ว

3. การ ปฎิบัติตามประกาศฉบับนี้ให้ใช้กับทุกเที่ยวบินทั้งเที่ยวบินระหว่างประเทศ และเที่ยวบินภายในประเทศ ซึ่งเดินทางออกจากสนามบินในประเทศไทย

4. ห้ามผู้โดยสารนำสัมภาระติดตัวซึ่งมีของเหลว เจล หรือ สเปรย์ ขึ้นเครื่องบิน

เว้นแต่จะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
4.1 ของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่นๆซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันต้องบรรจุในภาชนะซึ่งมีปริมาณความจุไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (หรือปริมาณที่เทียบเท่ากันในหน่วยวัดปริมาตรอื่น) สำหรับภาชนะซึ่งมีปริมาณความจุเกิน 100 มิลลิลิตรจะนำขึ้นเครื่องบินไม่ได้แม้ว่าจะบรรจุของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่นๆซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันไว้เพียงเล็กน้อย

4.2 ภาชนะที่ใส่ของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่นๆซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ต้องใส่รวมไว้ในถุงพลาสติกใสที่มีปริมาณความจุไม่เกิน 1 ลิตร (ประมาณ 20X20 ซม.)และสามารถปิดผนึกได้ (Transparent Re-Sealable Plastic Bag) โดยต้องปิดผนึกปากถุงให้เรียบร้อย

4.3 ผู้โดยสารสามารถนำถุงพลาสติกใสขึ้นเครื่องบินได้คนละ 1 ถุง

4.4 ผู้โดยสารต้องแยกถุงพลาสติกใสซึ่งใส่ภาชนะของเหลว เจล หรือ สเปรย์ ออกจากสัมภาระติดตัวอื่นๆ รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop Computer) และเสื้อคลุม เมื่อถึงจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย (Security Screening Point)

5. ของเหลว เจล หรือ สเปรย์ซึ่งซื้อจากร้านค้าปลอดอากร (Duty Free Shops) ที่ สนามบินหรือซื้อบน เครื่องบินต้องบรรจุไว้ในถุงพลาสติกใสซึ่งปิดผนึกปากถุงและไม่มีร่องรอยผิด ปกติให้สงสัยว่ามีการเปิดปากถุงหลังจากการซื้อ และมีหลักฐานแสดงว่าซื้อจากร้านค้าปลอดอากรที่สนามบินหรือบนเครื่องบินในวัน ที่ผู้โดยสารนั้นๆเดินทาง

ผู้ โดยสารที่ต้องการจะซื้อสินค้าซึ่งเป็นของเหลว เจล หรือ สเปรย์ จากร้านค้าปลอดอากรที่สนามบิน ต้องตรวจสอบข้อมูลจากสายการบินหรือร้านค้าปลอดอากรที่สนามบิน เกี่ยวกับการปฎิบัติต่อของเหลว เจล หรือ สเปรย์ที่สนามบินซึ่งเป็นจุดปลายทางของการเดินทางและสนามบินทุกแห่งที่ผู้ โดยสารต้องลงจากอากาศยานเพื่อแวะพักหรือเปลี่ยนลำอากาศยานก่อนที่จะซื้อ สินค้าดังกล่าว

สำหรับการดำเนินการกับของเหลว สเปรย์ และเจลก่อนขึ้นเครื่องบินที่ ICAO แนะนำให้สนามบินปฏิบัติ คือ

1. ไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารนำของเหลวทุกชนิดที่มีความจุเกิน 100 มิลลิลิตรขึ้นอากาศยาน

2. ภาชนะที่บรรจุของเหลวต้องเป็นภาชนะพลาสติกใสที่สามารถเปิด-ปิดได้ (Re-sealable) โดยภาชนะดังกล่าวต้องมีความจุไม่เกิน 1 ลิตร และต้องถูกปิดผนึกอย่างสมบูรณ์

3. หลังจากผ่านเครื่อง X-ray แล้ว ภาชนะพลาสติกใสต้องถูกตรวจสอบด้วยสายตาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผู้โดยสาร 1 คนสามารถนำภาชนะพลาสติกขึ้นเครื่องได้คนละ 1 ใบเท่านั้น

4. มาตรการนี้ไม่รวมถึงยารักษาโรค นม และอาหารของเด็กทารก รวมทั้งอาหารชนิดพิเศษสำหรับผู้ป่วย

5. เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ ควรนำถุงพลาสติกใสที่บรรจุของเหลวตรวจแยกต่างหากจากกระเป๋าสัมภาระอื่นๆ

6. มาตรการ นี้ไม่รวมถึงของเหลวที่จำหน่ายจากร้านค้าหลังจุดตรวจค้น โดยของเหลวดังกล่าวต้องบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกใสที่ปิดผนึกอย่างดี และจะต้องพร้อมได้รับการตรวจตามความจำเป็น

ขั้นตอนการขึ้นเครื่องบินในประเทศ

ขั้นตอนการขึ้นเครื่องบินในประเทศ แบบเข้าใจง่าย Step by Step


ปัจจุบันการเดินทางโดยเครื่องบินมีราคาถูกกว่าแต่ก่อนมาก เนื่องจากมีสายการบิน Low cost มาเปิดให้บริการ อีกทั้งการเดินทางโดยเครื่องบินก็ใช้เวลาเดินทางไม่นาน ทำให้ไม่เหนื่อยกับการเดินทาง จึงมีการเดินทางด้วยเครื่องบินเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยขึ้นเครื่องบินมาก่อน อาจจะกลัวว่าขึ้นเครื่องไม่ถูก กลัวจะตกเครื่อง ลองมาดูรีวิวนี้ครับ รับรองว่าอ่านจบแล้วขึ้นเครื่องได้อย่างแน่นอน
ก่อนที่จะบอกขั้นตอนต่างๆ เรามาเรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นเครื่องกันก่อน
Itinerary = ใบรายละเอียดการเดินทาง เรามักจะได้ใบนี้หลังจากที่เราซื้อตั๋วเครื่องบินทางอินเตอร์เนต
Air Ticket = ตั๋วเครื่องบิน
E-Ticket = ตั๋วเครื่องบินแบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบกระดาษ A4 ทางสายการบินหรือเอเจนซี่จะส่งให้หลังจากการจองเสร็จสมบูรณ์ ตั๋วชนิดนี้ไม่สามารถใช้ขึ้นเครื่องได้เลย ต้องไป check in ที่สนามบินในวันเดินทางเสียก่อน ถึงจะได้ตั๋วจริง
Boarding Pass = บัตรโดยสาร / ใบผ่านขึ้นเครื่อง
Departure Time = เวลาเครื่องออก
Boarding Time = เวลาขึ้นเครื่อง
Departing = เครื่องออกจาก (สนามบิน) / เวลาออก
Arriving = เครื่องถึงที่หมาย (สนามบิน) / เวลาถึง
ข้อห้าม
การเดินทางโดยเครื่องบินมีข้อห้ามหลายอย่าง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร ผมจะพูดถึงกฎทั่วไปของทุกสายการบิน ส่วนกฎของแต่ละสายการบิน เช่นน้ำหนักกระเป๋าถือขึ้นเครื่อง จำนวนสัมภาระติดตัว ฯลฯ ให้ดูได้จากเวบไซต์ของสายการบิน ควรศึกษาก่อนขึ้นเครื่อง

1. ห้ามนำของเหลวถือขึ้นเครื่องเกินชิ้นละ 100 ml (ml, cc, g ให้ถือเป็นค่าเดียวกัน) หากมีความจำเป็นต้องนำของเหลวติดตัวไปด้วยเช่นพวกแชมพู สบู่เหลว ให้ใช้วิธีแบ่งใส่ขวดเล็กๆ หรือถุงใสที่มีปริมาตรไม่เกิน 100 ml โดยวิธีนี้เราสามารถนำของเหลวติดตัวรวมกันแล้วไม่เกิน 1,000 ml ขนาดของของเหลวจะยึดจากฉลากบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก เช่น ครีม ที่ฉลากติดไว้ว่า 120 ml ถึงแม้ว่าจะใช้ไปแล้วครึ่งหนึ่งก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ เพราะปริมาตรที่ฉลากระบุไว้เกิน 100 ml ของเหลวที่มีปริมาณเกินที่ระบุไว้จะต้องถูกทิ้งขยะ แต่ในกรณีของเหลวโหลดเป็นสัมภาระใต้ท้องเครื่องจะไม่จำกัดปริมาณ
2. ห้ามนำของมีคม วัตถุไวไฟ อาวุธ ถือขึ้นเครื่อง เช่นกรรไกร มีด คัทเตอร์ ดอกไม้ไฟ ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจเจอจะต้องถูกทิ้งขยะ
3. น้ำหนักกระเป๋า – สัมภาระขึ้นเครื่อง สายการบิน Air asia ให้นำกระเป๋าถือขึ้นเครื่องได้ 1 ใบ น้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม ขนาดไม่เกิน 56×36x23 cm สำหรับกระเป๋าถือของผู้หญิงหรือกระเป๋ากล้องสามารถนำติดตัวไปได้โดยไม่นับ ว่าเป็นสัมภาระ, สายการบิน Nok Air (Nok Economy) ให้โหลดกระเป๋าได้คนละ 15 กิโลกรัม
ขั้นตอนการขึ้นเครื่องบิน
หลังจากศึกษาข้อห้ามเรื่องของเหลว ของมีคม และข้อห้ามของสายการบินไปแล้ว ทีนี้เรามาดู 9 ขั้นตอนง่ายๆ ในการขึ้นเครื่องกันครับ

1. เตรียมตัว หลังจากที่เราได้จองตั๋วเครื่องบินกับสายการบิน หรือ เอเจนซี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้เราพิมพ์ Itinerary หรือ E-Ticket ติดตัวไปขึ้นเครื่องด้วย ใบ Itinerary หรือ E-Ticket ยังไม่ใช่ตั๋วที่ขึ้นเครื่องได้เลย เราจะต้องผ่านกระบวนการเช็คอิน เพื่อยืนยันว่าเรามาถึงสนามบิน พร้อมขึ้นเครื่องแล้ว สำหรับมือใหม่แนะนำว่าควรไปถึงสนามบินก่อนเครื่องออก 2 ชั่วโมง

ซ้าย. Itinerary ของ Air Asia, ขวา. Itinerary ของ Nok Air
2. ตรวจสอบเที่ยวบิน เมื่อถึงสนามบินให้เช็คดูจอมอนิเตอร์ว่าเที่ยวบินที่เรานั่งมีสถานะเป็นยัง ไง ออกตามเวลาหรือ Delay หรือไม่ เค้าน์เตอร์เช็คอินหมายเลขอะไร
(2.1) สำหรับคนที่บินสายการบิน Air Asia ไม่มีสัมภาระโหลด + ทำ Web Check-in มาแล้ว ให้ข้ามไปข้อ 4 เลย

3. เช็คอิน ให้เดินไปที่เคาน์เตอร์ของสายการบินช่องผู้โดยสารในประเทศ เพื่อทำการเช็คอิน – โหลดกระเป๋า (ถ้ามี) โดยจะต้องใช้ Itinerary + บัตรประชาชน เสร็จจากขั้นตอนนี้เราจะได้ใบ Boarding Pass มา ให้ตรวจสอบความถูกต้อง ชื่อ – นามสกุล ที่นั่ง เกต

เค้าน์เตอร์เช็คอิน นกแอร์

Boarding Pass นกแอร์
4. สแกนสัมภาระ เดินตามป้ายผู้โดยสารขาออกภายในประเทศ ส่งบัตรประชนชนพร้อม Boarding Pass ให้เจ้าหน้าที่ตรวจ จากนั้นก็วางกระเป๋าใส่สายพาน x-ray ส่วนของที่อยู่ในกระเป๋ากางเกง กระเป๋าเสื้อให้หยิบออกมาวางในตระกร้าให้หมด แล้วเดินผ่านประตูตรวจจับโลหะ รับสัมภาระคืน (บางสนามบินจะมีการตรวจ Boarding Pass หลังสแกนสัมภาระ เช่นสนามบินเชียงราย, เชียงใหม่)
ในขั้นตอนสแกนสัมภาระจะเข้าได้เฉพาะคนที่มี Boarding Pass เท่านั้น คนที่มาส่งจะไม่สามารถเข้าไปด้านในได้, น้ำดื่ม จะต้องทานให้หมดก่อนเข้าสแกนสัมภาระ หรือไม่ก็ต้องทิ้งลงถังขยะ

5. รอขึ้นเครื่อง เดินไปรอขึ้นเครื่องตามเกตที่ระบุใน Boarding Pass ในกรณีที่ Boarding Pass ไม่ได้ระบุไว้ก็สามารถดูได้จากจอมอนิเตอร์ได้เช่นกัน เมื่อถึงเกตแล้วให้ดูว่าเที่ยวบินตรงกับใน Boarding Pass เราหรือไม่ ระหว่างรอให้ดูจอประจำเกตอยู่ตลอดเวลาว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ บางครั้งก็มีการเปลี่ยนเกตได้เหมือนกัน
ถ้าไปถึงเกตก่อนเวลาเครื่องออกตั้งแต่ 60 นาทีขึ้นไปจะไปชอปปิ้ง ทานข้าว เดินเล่นก่อนก็ได้ แนะนำว่าให้เข้าห้องน้ำ ทำธุระให้เรียบร้อยก่อนขึ้นเครื่อง

รายละเอียดเที่ยวบิน, Boarding Time, ที่นั่ง, เกต ที่ระบุใน Boarding Pass

ที่นั่งรอขึ้นเครื่อง
6. ขึ้นเครื่อง ก่อนเครื่องออก 30-40 นาที (Boarding Time) จะมีเจ้าหน้าที่เรียกขึ้นเครื่อง โดยจะเรียกผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วใน class แพงขึ้นก่อน เช่น Business class, Hot seat, High Flyer จากนั้นจึงตามด้วยผู้โดยสารที่เหลือ เจ้าหน้าที่จะขอดูบัตรประชาชนพร้อม Boarding Pass และฉีก Boarding Pass ส่วนของสายการบินออก คืนส่วนที่เหลือให้เรา

สิ่งที่แตกต่างระหว่างเครื่องบินกับรถทัวร์คือเวลาขึ้นเครื่อง เครื่องบินจะต้องขึ้นก่อนเครื่องออก 30-40 นาที (Boarding Time) มือใหม่บางคนไม่รู้ไปขึ้นเครื่องตามเวลาเครื่องออกเป๊ะ (Departure Time) ผลสุดท้ายคือตกเครื่องไปตามระเบียบ เวลาที่เครื่องออกจะเป็นเวลาที่เครื่อง Push back ถอยออกจากงวงช้าง เตรียมที่จะ Take Off
7. นั่งตามหมายเลข เมื่อขึ้นไปอยู่บนเครื่องแล้วให้นั่งตามหมายเลขที่ระบุไว้ หมายเลขที่นั่งจะติดอยู่บริเวณที่เก็บสัมภาระ หากหาไม่เจอ หรือมีคนมานั่งที่เรา ให้ขอความช่วยเหลือกับแอร์ฯ หรือ สจ๊วต บนเครื่อง สัมภาระที่นำติดตัวขึ้นเครื่องสามารถเก็บไว้ในช่องด้านบนได้ ส่วนของมีค่าให้เก็บไว้กับตัว

หมายเลขที่นั่งบนเครื่องบิน จากรูป A เป็นที่นั่งริมหน้าต่าง
เมื่อนั่งแล้วให้รัดเข็มขัด อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด โทรศัพท์มือถือ ไอแพด จะต้องปิดเครื่องก่อนที่เครื่องบินจะออก และจะสามารถเปิดใช้งานใน Flight mode ได้หลังจากที่เครื่องรักษาระดับได้แล้ว จะมีไฟสัญญาณบอก
ก่อนที่เครื่องจะ Take Off จะมีลูกเรือมาสาธิตความปลอดภัย เช่นหน้ากากออกซิเจน เสื้อชูชีพ ประตูทางออกฉุกเฉิน

8. เดินทาง ผู้โดยสารจะต้องรัดเข็มขัดในเวลาที่เครื่องขึ้น และ ลง แต่เพื่อความปลอดภัยจะแนะนำให้รัดเข็มขัดไว้ตลอดเวลา สำหรับคนที่ไม่เคยขึ้นเครื่อง เวลาเครื่อง Take Off หรือ Landing มักจะมีอาการหูอื้อ แนะนำให้เคี้ยวหมากฝรั่งหรือกลืนน้ำลายบ่อยๆ จะช่วยได้ ถ้ารู้สึกอยากจะอาเจียนให้หยิบถุงอ้วกที่ช่องใส่หนังสือมาใช้ได้ ลักษณะจะเป็นถุงกระดาษสีขาว
บนเครื่องบินมีห้องน้ำแต่จะใช้ได้ช่วงที่เครื่องบินรักษาระดับได้แล้ว ช่วงบินขึ้น (Take Off) และลง (Landing) ไม่สามารถใช้ห้องน้ำได้ ให้สังเกตดูได้จากไฟสถานะห้องน้ำบนเครื่อง ถ้าไฟเขียวแสดงว่าใช้งานได้

9. ถึงที่หมาย เมื่อถึงที่หมายให้ไปรอรับกระเป๋าที่สายพาน (ถ้ามี) ตามที่หน้าจอระบุไว้ในสนามบินปลายทาง แล้วก็เดินออกจากสนามบินได้เลย เป็นอันจบภารกิจ

เก้าขั้นตอนง่ายๆ นี้เราคิดว่าจะทำให้มือใหม่ได้รู้ขั้นตอนการขึ้นเครื่อง ไม่ต้องกลัวตกเครื่อง การขึ้นเครื่องบินนั้นขั้นตอนอาจจะเยอะกว่าการขึ้นรถทัวร์นิดหน่อย เพราะมีขั้นตอนความปลอดภัยที่เข้มงวดกว่า แต่ก็ไม่ได้ยุ่งยากมากมาย